อาหารบำรุงครรภ์ และ ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ถึง สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการตั้งครรภ์

เริ่มเข้าสู่ช่วงของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 กันแล้ว ทั้งคุณแม่และลูกน้อยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างนะ

สารบัญ

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์

  • มดลูกจะบวมมากขึ้น คุณหมอจะมีการนัดอัลตร้าซาวน์ ตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวดาวน์ซินโดรม
  • เริ่มเห็นเส้นกลางลำตัวชัดมากขึ้น และจะหายไปหลังจากคลอดลูกน้อยแล้ว
  • หน้าอกยังขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 14 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 80-93 มม. หนักประมาณ 25 กรัม
  • สามารถแสดงอาการเหล่ตา เคลื่อนไหวนิ้วมือได้ซับซ้อนมากขึ้น และดูดนิ้วหัวแม่มือได้อีกด้วย
  • ในขณะที่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายเติบโตไปได้เรื่อย ๆ เริ่มมีการฝึกการหายใจให้เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ
  • ต่อมไทรอยด์เริ่มมีการผลิตฮอร์โมน
  • น้ำคร่ำก็จะเริ่มมีการหมุนเวียน การดูดซึมขับถ่ายของเสีย และมีการทำความสะอาดใหม่โดยรก ในทุก ๆ 3 ชั่วโมง

อาหารบำรุงครรภ์ 14 สัปดาห์

ต่อมไทรอยด์พัฒนาไปถึงขั้นพร้อมที่จะผลิตฮอร์โมน คุณแม่ควรลดทานกะกล่ำปลี หรือไม่กินดิบๆ เพราะในผักชนิดนี้มีสารที่ไปยับยั้งการทำงานของไทรอยด์ แต่ถ้าเป็นของชอบจริง ๆ แนะนำให้ต้มหรือนึ่งให้สุกก่อนทานนะคะ

อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์

  • คุณแม่จะเริ่มคับบริเวณเอว เริ่มมีอาการท้องผูก เพราะฮอร์โมรโปรเจสเตอโรนกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานช้าลง ดังนั้น ผักและผลไม้เป็นอาหารที่คุณแม่ต้องทานได้ให้ในปริมาณมาก ๆ เลยค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมทานแคลเซียมไว้นะคะ เพราะลูกกำลังเติบโตได้ดีทีเดียว
  • ช่วงนี้น้ำหนักของคุณแม่เริ่มเพิ่มมาประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม
  • คุณแม่บางคนอาจมีเลือดออกหลังแปรงฟัน เนื่องมากจากเหงือกบวมขึ้น มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น การไปพบทันตแพทย์เพื่อให้ขูดหินปูน สามารถทำได้ แต่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้งนะคะว่าตั้งครรภ์อยู่

พัฒนาการทารกในครรภ์ 15 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 9.3-10.3 ซม. หนักประมาณ 50 กรัม
  • ขนอ่อนเริ่มขึ้นตามร่างกาย ขนอ่อนนี้จะร่วงก่อนเกิดและมีขนที่หนาและหยาบมากกว่าขึ้นมาแทน แต่ขนคิ้วและผมยังคงขึ้นต่อไป
  • โครงกระดูกพัฒนาได้เร็วขึ้นแต่ก็ยังคงเป็นกระดูกอ่อนอยู่ ซึ่งจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกที่แข็งแรงต่อไป
  • ขาของทารกเริ่มพัฒนาได้ยาวกว่าส่วนแขน

อาหารบำรุงครรภ์ 15 สัปดาห์

เน้นวิตามินเอ ทีมีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนัง ที่อยู่ในรูปของ “แคโรทีน” พบมากในผักใบเขียว เนย ฟักทอง และแครอท ค่ะ

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณน้ำคร่ำก็เพิ่มมากขึ้น
  • ต่อมน้ำนมของคุณแม่ก็เริ่มมีการผลิตน้ำนมและอาจส่งผลให้เต้านมบวมได้ กดแล้วเจ็บ เลือดจะไหลเวียนมายังเต้านมมากขึ้น ทำให้มองเห็นหลอดเลือดดำได้ชัดเจนขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 16 สัปดาห์

  • ลูกจะมีความยาวประมาณ 10.8-11.6 ซม. หนักประมาณ 80 กรัม
  • อวัยวะต่าง ๆ เติบโตอย่างเต็มที่ และเคลื่อนไหวทุกส่วนได้ ศีรษะตั้งตรงมากขึ้น
  • สมองควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
  • ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มผลิตแอนตี้บอดี้ป้องกันตนเองได้ดีขึ้น
  • ไตเริ่มมีการทำงานได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่
  • จำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมีมากกว่าเดือนที่แล้วถึง 3 เท่า

อาหารบำรุงครรภ์ 16 สัปดาห์

เพราะน้ำคร่ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 200-250 ซีซี อาหารกลุ่มวิตามินซีจะช่วยเพิ่มคอลลาเจนส่งผลให้เซลล์ยึดติดเหนียวแน่นมากขึ้น นอกจากนี้ วิตามินซียังทำให้กระดูกและฟันของลูกแข็งแรงขึ้น ผิวพรรณของคุณแม่ดูสดใสมากขึ้น อ้อ…อย่าลืมหาครีมทากันท้องแตกลายนะคะ (ครีมยังช่วยลดอาการคันได้อีกด้วยค่ะ)

อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้หัวใจของคุณแม่ได้เพิ่มปริมาณการสูบฉีดเลือดส่งออกจากหัวใจมากขึ้นเป็นร้อยละ 40 ต่อนาที เพิ่มความดันให้กับหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดฝอยในจมูกและเหงือก อาจมีเลือดกำเดาออกเล็กน้อย ในบางรายอาจมีอาการบวมน้ำที่มือและเท้าเล็กน้อย
  • ตาของคุณแม่อาจเริ่มแห้ง ให้คุณแม่หาน้ำตามเทียมมาหยอด ก็จะช่วยให้ตาชุ่มชื้นขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์

  • ตอนนี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 11-12 ซม. หนักประมาณ 100 กรัม ขั้นตอนนับเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ เพราะลูกจะเริ่มมีการสะสมไขมันสีน้ำตาลซึ่งเป็นไขมันชนิดพิเศษ โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร้อนหลังเกิด หัวใจสูบฉีดเลือดสูงสุดวันละ 24 ลิตร รกจะมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน
  • ลูกน้อยเริ่มมีผิวหนังและกล้ามเนื้อ ส่วนต่อมเหงื่อก็กำลังพัฒนาเช่นกัน
  • ระบบทางเดินโลหิต และทางเดินปัสสาวะก็พัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
  • สามารถรับรสและแยกรสชาติของน้ำคร่ำได้

อาหารบำรุงครรภ์ 17 สัปดาห์

ไขเคลือบผิวลูกเริ่มผลิตมากขึ้น เพื่อช่วยให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น ในช่วงที่ลูกยังอยู่ในครรภ์ “ไบโอติน” จะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน อาหารที่คุณแม่ควรเน้นทานในช่วงนี้คือ พวกถั่วต่าง ๆ ผลไม้ ผักเขียว น้ำเต้าหู้ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

อายุครรภ์ 18 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์

  • หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก อาจจะตื่นเต้นกับการเคลื่อนไหวของลูกในท้องเป็นครั้งแรก แต่ในบางรายอาจยังไม่ค่อยรู้สึกจนกว่าจะอีก 2-3 สัปดาห์ถัดไป อาจเริ่มชัดเจนขึ้น
  • ผิวของคุณแม่จะเริ่มมีสีคล้ำขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้เม็ดสีใต้ผิวหนังมีความไวต่อแสงมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า

พัฒนาการทารกในครรภ์ 18 สัปดาห์

  • ลูกจะมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 12.5-14 ซม. โดยประมาณ หนักประมาณ 150 กรัม
  • ลูกจะไวต่อเสียงหรือการสัมผัสจากโลกภายนอกมากขึ้น ประสาทหูกำลังพัฒนาได้ดี แต่จะตกใจเมื่อได้ยินเสียงรบกวนที่ดัง
  • ลำไส้ส่วนล่างกำลังเก็บสะสมเศษที่ย่อยไม่ได้ เรียกว่า “ขี้เทา
  • ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มมีการทำงานได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น
  • หากลูกดิ้นแรง คุณแม่ก็จะสามารถรับรู้ได้

อาหารบำรุงครรภ์ 18 สัปดาห์

ช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการท้องผูกมากขึ้น อาหารที่ทานเน้นเป็นผัก ผลไม้ที่มีกากใยสูง จะดีมากค่ะ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้ได้วันละ 8 แก้วนะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP