ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 ถึง สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการตั้งครรภ์

เข้าสู่อายุครรภ์เดือนที่ 6 หรือสัปดาห์ที่ 24 กันแล้วนะคะ ทารกและคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง คุณแม่จะเจอกับอะไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

สารบัญ

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์

  • เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย เจ็บเท้า
  • ร่างกายจะเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้น คุณแม่ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย หากอยู่บ้านให้คุณแม่ลองหาน้ำอุ่นมาแช่เท้าประมาณซัก 30 นาที อาการจะดีขึ้นค่ะ
  • เพราะมดลูกที่โตขึ้นเรื่อย ๆ จึงยิ่งส่งผลให้คุณแม่ท้องผูกมากขึ้น เพื่อป้องกันโรครดสีดวงทวารถามหา คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีกากใยสูง ทั้งผักและผลไม้นะคำ
  • ช่วงนี้คุณหมอจะเริ่มทำการทดสอบระดับกลูโคสในร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า GCT (Glucose Challenge Test) เป็นการทดสอบเพื่อให้ทราบว่าคุณแม่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

พัฒนาการทารกในครรภ์ 24 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยาวทารกจะอยู่ที่ 21 ซม. หนักประมาณ 540 กรัม
  • ศีรษะของลูกน้อยยังคงมีลักษณะที่โตกว่าร่างกาย แต่ร่างกายยังมีการเติบโตต่อจนเต็มมดลูก
  • ลูกสามารถได้ยินเสียงดนตรี เสียงหัวใจ เสียงพูด ของคุณแม่แล้วค่ะ รวมถึงเสียงท้องร้อง ดังนั้น คุณแม่สามารถเปิดเพลงที่ฟังสบาย ๆ ให้ลูกฟังได้นะคะ
  • ริมฝีปากเริ่มเห็นได้ชัดขึ้น มีปุ่มฟันโผล่ดันเหงือกออกมาเป็นตุ่ม ๆ เรียงเป็นแถว
  • กระดูกสันหลังเริ่มมีการสะสมคแคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรงกว่าเดิม มีข้อต่อต่าง ๆ ทำให้สามารถงอตัว บิดตัว มีการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้น

อาหารบำรุงครรภ์ 24 สัปดาห์

สัปดาห์นี้ยังต้องเน้นอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อป้องกันน้ำหนักเกิน โรคริดสีดวงทวาร ครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง อาหารที่อุดมไปด้วยกากใยหรือไฟเบอร์ได้แก่ บรอคโคลี ถั่วลันเตา อโวคาโ ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต และข้าวกล้อง เป็นต้น

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์

  • มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดเท่ากับลูกฟุตบอลซึ่งจะทำให้ดันกะบังลมและซี่โครงซี่ล่างขึ้นไปแทนที่กระเพาะอาหาร ความดันในท้องอาจทำให้สะดือยื่นออกมา และเพราะความดันในท้องที่ดันกระเพาะ ทำให้อาหารไหลลงช้าอาจทำให้คุณแม่เป็นกรดไหลย้อนได้

พัฒนาการทารกในครรภ์ 25 สัปดาห์

  • ความยาวลูกจะเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ 22 ซม. หนักประมาณ 700 กรัม
  • ร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนมากขึ้นแต่ผิวหนังยังคงบางอยู่
  • ฟันแท้กำลังพัฒนาอยู่ภายในเหงือก
  • รูจมูกเริ่มเปิด เส้นประสาทรอบปากและริมฝีปากจะรับสัมผัสไวขึ้น
  • ร่างกายจะจำแนกเพศได้ค่อนข้างสมบูรณ์
  • อาหารเสริมของทารกในช่วงนี้คือ ของเหลวในน้ำคร่ำ ทารกจะกลืนน้ำคร่ำ และขับถ่ายน้ำคร่ำในรก และในสะดือเป็นบางครั้ง
  • ผิวหนังเดิมที่เหี่ยวย่น มาสัปดาห์นี้เริ่มตึงมากขึ้น หน้าตาเริ่มพัฒนาใกล้เคียงทารกแรกเกิดมากขึ้นอีกด้วย

อาหารบำรุงครรภ์ 25 สัปดาห์

เนื่องจากสัปดาห์นี้ทารกเริ่มมีการแบ่งเพศได้ชัดเจนมากขึ้น วิตามินเอ จะช่วยพัฒนาระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของทารกให้เป็นอย่างสมบูรณ์ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ได้แก่ ฟักทอง มะละกอ ตำลึง (วิตามินเอสูงมาก) แตงกวา ผักกาดขาว และมะเขือเทศ เป็นต้น

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์

  • ใกล้สิ้นสุดไตรมาส 2 คุณแม่เริ่มมีอาการไม่สบายตัวอื่น ๆ ตามมา ซึ่งนอกจากอาการปวดหลัง ยังมีอาการตะคริวที่ขา ปวดศีรษะ และการเคลื่อนไหวของลูกอาจทำให้แม่เจ็บที่ซี่โครงล่างได้เป็นครั้งคราว
  • ช่วงนี้หากคุณพ่อพูดคุยกับลูก ลูกก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง และหากมีการอัลตร้าซาวน์คุณพ่อคุณแม่ก็จะเริ่มตื่นเต้นมากขึ้น เพราะเราจะได้เห็นลักษณะทางกายวิภาคที่สมบูรณ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 26 สัปดาห์

  • ความยาวของทารกเริ่มยาวขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะอยู่ที่ 23 ซม. หนัก 850 กรัม
  • ทารกยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กระดูกสันหลังเริ่มพัฒนา เริ่มแข็งแรงขึ้นพอที่จะพยุงร่างกายได้แล้ว แต่เค้ายังคงฝึกเรื่องการหายใจอยู่ ในขณะที่ปอดเจริญเติบโตเกือบเต็มที่แล้ว
  • ช่วงนี้แพทย์จะตรวจดูจังหวะการเต้นของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วหัวใจต้องเต้นอย่างสม่ำเสมอ มีอัตราการเต้นที่ประมาณ 140 – 160 ครั้งต่อนาที ถ้าทารกยังดิ้นดี ฟังเสียงหัวใจยังปกติดี แปลได้ว่าทารกแข็งแรงดี
  • ทารกมักชอบเหยียดขาแก้เมื่อยเป็นพัก ๆ ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าลุกถีบด้านบน แสดงว่าหัวอยู่ด้านล่าง เป็นต้น
  • ระบบประสาทด้านการมองเห็นเริ่มพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น แต่ยังยกเว้นเรื่องของสีที่ยังไม่สามารถระบุได้

อาหารบำรุงครรภ์ 26 สัปดาห์

ดวงดาและระบบประสาทตาเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น สารอาหารสำคัญในสัปดาห์นี้ คือ โอเมก้า 3 ที่พบมากในไข่ เนื้อ นม สำหรับนม (นมวัว) ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 – 2 แก้วพอนะคะ

แม่โน้ต

เพราะการดื่มนมวัวในปริมาณมาก ๆ ทุกวัน อาจเกินความต้องการและจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกแพ้นมวัวได้ค่ะ

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณแม่จะสูงขึ้น แต่ไม่น่าเป็นห่วง เพราะคอเลสเตอรอลเป็นสารอาหารหน่วยย่อยที่รกจะใช้ในการผลิตฮอร์โมนในการตั้งครรภ์หลายตัว
  • ช่วงนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกพูดคุย หรือฟังเพลงบ่อย ๆ หรือจะใช้ไฟฉายส่องที่ท้องเปิด-ปิดไฟ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกได้นะคะ
  • คุณแม่จะเริ่มปวดหลังมากขึ้น เพราะท้องใหญ่ขึ้น จึงทำให้มีการดึงรั้งมากขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 27 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยาวทารกจะอยู่ที่ 24 ซม. หนัก 1 กก.
  • ดวงตาและขนตาสมบูรณ์ ระยะนี้ลูกจะชอบดูดอะไรก็ตามที่เข้าใกล้ปาก
  • ปุ่มรับรสบนลิ้นทำงานได้เต็มที่ ปอดยังคงเติบโตต่อ หากลูกคลอดในระยะนี้เรียกได้ว่ามีโอกาสรอด 90% แต่ต้องเข้าตู้อบและใส่เครื่องช่วยหายใจระยะหนึ่ง รอจนกว่าร่างกายแข็งแรงมากขึ้น สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ไวต่อการติดเชื้อ
  • เนื้อเยื่อในสมองมีการพัฒนามากขึ้น
  • ทารกสามารถสะอึก ซึ่งคุณแม่ก็รู้สึกและรับรู้ได้

อาหารบำรุงครรภ์ 27 สัปดาห์

สารอาหารที่แนะนำในช่วงนี้ ได้แก่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม โอเมก้า 3 วิตามินเอ วิตามินซี เหล่านี้จะช่วยเสริมทารกในทุกด้านเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์

  • คุณแม่อยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการทดสอบการเคลื่อนไหวของลูกในช่วงเช้าและเย็นประมาณ 1 ชั่วโมง (หรือทดสอบการดิ้นนั่นเองค่ะ) คุณแม่ควรนับดูว่าการดิ้นของลูกนั้นครบ 10 ครั้งต่อรอบมั้ย ถ้าไม่ถึงควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อความสบายใจนะคะ
  • ช่วงนี้คุณแม่เริ่มเคลื่อนไหวได้ยากมากขึ้น แม้แต่ตอนจะนอนหรือจะลุกจากที่นอน เหล่านี้คือ อาการ Restless Legs Syndrome (RLS) ให้คุณแม่พยายามเหยียดขา หรือบีบขาเบา ๆ รวมถึงให้ปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยค่ะ
  • นอนไม่หลับ เนื่องจากท้องที่ใหญ่มากขึ้น จนทำให้คุณแม่อึดอัด ไม่สบายตัว ส่งผลให้นอนไม่ค่อยหลับได้

พัฒนาการทารกในครรภ์ 28 สัปดาห์

  • ความยาวลูกจะเพิ่มเป็น 25 ซม. หนักประมาณ 1.1 กก.
  • ช่วงนี้เริ่มเข้าไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ลูกยังคงฝึกหายใจอย่างต่อเนื่องโดยมีสารน้ำเข้าไปในทางเดินอากาศหายใจไม่ใช่ปอด
  • ผิวหนังยังคงเป็นสีแดง มีไขมันหุ้มอยู่ทั้งตัว โดยพอจะมองออกแล้วว่าจะเป็นศีรษะหรือก้นที่ออกมาก่อน
  • การได้ยินของลูกจะดีมากขึ้น หากเป็นเพศชายอัณฑะได้เคลื่อนลงมาในถุงอัณฑะเกือบหมดแล้ว ถ้าเป็นเพศหญิง แคมยังเล็กและยังปิดปุ่มกระสัน (คลิทอริส) ไม่มิด

อาหารบำรุงครรภ์ 28 สัปดาห์

อาหารบำรุงครรภ์ในช่วงนี้ ได้แก่ ธัญพืช ถั่ว ผักใบเขียว พืชที่มีฝัก มัน โฮลวีท โฮลเกรน รวมทั้งซีเรียลก็ได้นะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP