ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 ถึง สัปดาห์ที่ 36

ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 ถึง สัปดาห์ที่ 36
พัฒนาการตั้งครรภ์

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าไตรมาสสุดท้าย ท้องก็ยังคงใหญ่ขึ้น ทำให้ร่างกายของคุณแม่เคลื่อนไหวลำบาก อาจจะมีการเจ็บกระบังลมบ้างในบางจังหวะ คุณแม่ควรทำอย่างไร หรือจะเตรียมข้างของเพื่อไปคลอดตอนไหนดี ไปดูกันเลยค่ะ

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์

ช่วงสัปดาห์ที่ 34-36 จะเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากที่สุด ทารกก็ยังเติบโตต่อไปทำให้ท้องของคุณแม่โตมาก เริ่มมีการเจ็บเตือนเป็นระยะ คุณแม่ควรแยกให้ออกระหว่างเจ็บเตือนและเจ็บจริง ดังนี้ค่ะ

อาการเจ็บเตือน

  • เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ
  • ระยะห่างเท่าเดิม
  • ความแรงยังคงเหมือนเดิม
  • บรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด
  • ปากมดลูกไม่เปิด

อาการเจ็บจริง

  • เกิดขึ้นสม่ำเสมอ
  • ระยะห่างถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • ความแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปวดหลังและท้อง
  • ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด
  • ปากมดลูกเปิดขยาย

พัฒนาการทารกในครรภ์ 34 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้มดลูกของคุณแม่เริ่มลอยมากขึ้นจนเหนือสะดือ จนบางรายสะดือจะจุ่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด แต่ท้องจะยังคงขยายมากขึ้นจนถึงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • ความยาวของทารกจะอยู่ที่ 45 ซม. หนักประมาณ 2,146 กรัม
  • ปอดและสมองพัฒนาได้เกือบสมบูรณ์
  • มีไขปกคลุมผิวหนังทารกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่น
  • หากจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด โอกาสรอดชีวิตสูง แต่สารเคลือบปอดยังสร้างได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนยังทำได้ไม่ดีนัก ยังต้องใช้กระบวนการออกซิเจนบำบัดอยู่

อาหารบำรุงครรภ์ 34 สัปดาห์

ลูกน้อยเตรียมตัวคลอดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเขายังอยู่ในท้องการดึงแคลเซียมของคุณแม่ก็ยังจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาหารที่แนะนำในช่วงนี้จึงเน้นไปในเรื่องของแคลเซียมค่ะ อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ ดอกขจร คะน้า ใบละพลู และงาทุกสี

อายุครรภ์ 35 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

  • เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 35 คุณแม่อาจพบว่าลูกดิ้นน้อยลง ซึ่ง “การดิ้น” ของลูกเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้แม่รู้ว่าลูกยังมีชีวิตอยู่
  • การนับลูกดิ้น คุณแม่ต้องจับให้ได้ในทุก ๆ 2 ชั่วโมง ลูกควรดิ้น 10 ครั้ง หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ให้นับต่อในชั่วโมงที่ 3 แต่หากยังดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง คุณแม่ควรไปปรึกษาคุณหมอทันทีนะคะ เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจวินิจฉัยว่าลูกยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
  • คุณแม่ยังควรกินอาหารน้อย แต่บ่อยอยู่นะคะ เพราะหากกินมากเกินไปในแต่ละมื้อ อาจทำให้คุณแม่อึดอัด และท้องอืดได้

พัฒนาการทารกในครรภ์ 35 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้หรือในช่วง 35 สัปดาห์ขึ้นไป คุณหมอจะมีการนัดถี่ขึ้น เพราะคุณแม่มีโอกาสคลอดได้ทุกเมื่อ โดยความยาวของทารกจะอยู่ที่ 46.2 ซม. หนักประมาณ 2,383 กรัม
  • อวัยวะต่าง ๆ พัฒนาจนเกือบสมบูรณ์มากขึ้น
  • ตับก็พัฒนาได้เต็มที่เช่นกัน ร่างกายทารกเริ่มขับของเสียออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทารกสามารถหลับตา ลืมตาได้ ดิ้นมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงหลังอาหารในทุกมื้อ

อาหารบำรุงครรภ์ 35 สัปดาห์

ควรเน้นอาหารย่อยง่าย จำพวกปลา นมถั่วเหลือง เมนูผักและผลไม้ที่ย่อยง่าย แต่ควรงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอย่างกล้วยหอม ฝรั่ง (ถ้ากินในปริมาณมาก ๆ) หอมแดง และหอมหัวใหญ่ เป็นต้น

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

  • คุณแม่อาจมีอาการแน่นหน้าอก เพราะทารกมีขนาดที่โตขึ้น ทำให้เบียดกระบังลมของคุณแม่
  • ไม่ควรเดินทางไกล หรือหากจำเป็นควรพกสมุดฝากครรภ์ไปด้วย
  • ผิวหนังแห้งตึง โดยเฉพาะผนังหน้าท้อง งดอาบน้ำอุ่น เน้นทาโลชั่นหรือน้ำมันมะพร้าวก็จะช่วยลดความแห้งตึงได้
  • พยายามพักผ่อนให้มาก ไม่ควรเครียดหรือกังวล เพราะความเครียดจะทำให้มดลูกบีบตัว อาจคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 36 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้เป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเริ่มเตรียมข้าวของเครื่องใช้เพื่อเตรียมคลอดลูกน้อยให้พร้อมนะคะ
  • ใบหน้าทารก กลมโต แก้มป่อง เนื่องจากกล้ามเนื้อของทารกมีการพัฒนาไปได้อย่างสมบูรณ์สมวัย
  • เส้นผมของทารกในสัปดาห์นี้จะขึ้นมาทั่วศีรษะแล้ว รวมทั้งขนอ่อนทั่วร่างกาย
  • ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 47.4 ซม. หนักประมาณ 2,622 กรัม มีการเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ที่ชัดเจน ดังนี้ค่ะ
    • มีไขมันสะสมที่ผิวหนัง เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
    • ไขที่เคลือบอยู่ที่ผิวหนังนั้น จะเริ่มลดลงและมีมากน้อยต่างกันไปในแต่ละคน
    • ทารกอาจมีการถ่ายขี้เทา ซึ่งอาจเป็นอุจจาระที่มีสีเขียวขี้ม้าเนื่องจากการกลืนน้ำคร่ำเข้าไป
    • ปอดและหัวใจทำงานได้ดีมากขึ้น โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 110-140 ครั้ง/นาที เมื่อใช้เครื่องมือทางการแพทย์วัด

อาหารบำรุงครรภ์ 36 สัปดาห์

ถึงแม้ว่าหลาย ๆ อวัยวะ และระบบประสาทในหลาย ๆ ส่วนเริ่มมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วแล้ว แต่แผ่นกะโหลกศีรษะก็ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น อาหารที่แนะนำในช่วงนี้ ได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี และโอเมก้า 3 นอกจากนี้ ยังมีจำพวกนม คะน้า ไข่ และอโวคาโดอีกด้วยค่ะ เหล่านี้จะช่วยให้กะโหลกศีรษะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

ถ้ารู้สึกเจ็บท้อง แบบนี้คือจะคลอดจริงแล้วใช่ไหม? การเจ็บท้องก็คือการที่มดลูกมีการหดเกร็ง ซึ่งบางครั้งอาจแค่เป็นแค่การเจ็บเตือน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนเจ็บเตือน แบบไหนเจ็บจริง คลิกที่นี่

ตั้งครรภ์มาได้ 6 สัปดาห์แล้ว ทำไมรู้สึกอยากแต่จะนอนอย่างเดียว? ก็เพราะฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงนั่นเองค่ะ และยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีก ติดตามได้ที่นี่ คลิกเลย

ลูกก็ใกล้คลอดแล้ว คงไม่ต้องบำรุงอะไรกันมากก็ได้มั้ง? คิดผิดถนัดเลยค่ะ อย่าลืมนะคะว่ากะโหลกของทารกนั้นยังไม่ปิดทั้งหมด ยังต้องการสารอาหารอีกมากมาย จะมีอะไรบ้าง คลิกที่นี่

มดลูกบีบตัวเป็นระยะ ๆ เลย แบบนี้คือใกล้คลอดแล้วหรือยัง? บางครั้งการบีบตัวของมดลูกก็ไม่ได้แปลว่าจะคลอดเสมอไป ต้องมีอาการอื่นร่วมด้วย อาการที่ว่าคืออะไร คลิกที่นี่

ตั้งครรภ์ได้ 13 สัปดาห์แล้ว แบบนี้ยังจะต้องกินโฟเลตอยู่ไหม? โฟเลต ควรกินเป็นประจำทุกวันค่ะ ปกติแพทย์จะให้คุณแม่มาอยู่แล้วหลังจากการฝากครรภ์ ยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกที่สำคัญ มีอะไรบ้าง คลิกที่นี่ค่ะ

ตั้งครรภ์ช่วงไหนนะที่เค้าเรียกว่ามีอาการบวมน้ำ จะใช่อาการครรภ์เป็นพิษหรือเปล่า? อาการบวมน้ำมกจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่.... ติดตามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

การตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงในด้านไหนบ้าง? ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มหงุดหงิดง่าย อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ส่วนทารกในครรภ์จะพัฒนาไปอย่างไร ติดตามได้ที่นี่ คลิกเลยค่ะ

บางครั้งรู้สึกเหมือนลูกสะอึก ไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า? อาการลูกสะอึก สามารถเกิดได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งครรภ์ค่ะ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่คุณแม่คิดไม่ถึงอีก คลิกที่นี่

ลูกจะเริ่มดิ้นสัปดาห์ที่เท่าไหร่? ทารกบางคนถ้าดิ้นแรงจนคุณแม่สามารถรับรู้ได้ก็จะเริ่มจากอายุครรภ์ที่... ติดตามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก ต้องดูแลเรื่องอะไรมากเป็นพิเศษบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในการหยุดเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ไปดูกันค่ะ


แม่โน้ต

3,317,416 views

Mommy Blogger ที่มียอดวิวในเว็บไซต์ simplymommynote.net มากกว่า 200,000 วิว ต่อเดือน ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ Tradigital รักการเขียน มีลูกสาว และครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราว ชอบเรียนรู้เรื่องจิตวิทยา และสิ่งใหม่ ๆ IG : notepatsita Facebook

Profile

บทความแนะนำ