ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 37 ถึง สัปดาห์ที่ 40

พัฒนาการตั้งครรภ์

โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 37 – 40 นี้ ร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พัฒนาการทารกจะอยู่ในระดับใดแล้ว ไปติดตามกันค่ะ

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์

  • สำหรับสัปดาห์นี้ในทางการแพทย์นับเป็นสัปดาห์แรกของการที่มีอายุครรภ์ครบกำหนด (อายุครรภครบกำหนดในทางการแพทย์คือ 37-42 สัปดาห์) คือ ถ้าหากจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด ส่วนมากในสัปดาห์นี้ทารกจะปลอดภัย เพราะอวัยวะต่าง ๆ พัฒนาเต็มที่แล้ว
  • เริ่มมีอาการเจ็บเตือน จะถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะใช้เวลานานขึ้นในแต่ละครั้ง ในขณะที่คุณแม่เข้าห้อง ให้เช็คทุกครั้งว่ามูกเลือดออกมาจากช่องคลอดด้วยหรือไม่ เนื่องจากมูกเลือดจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าปากมดลูกมีการคลายตัว แต่ถ้าหากพบว่ามีเลือดออกมามาก ให้รีบไปโรงพยาบาล
  • แพทย์จะตรวจดูว่าปากมดลูกเปิดแล้วหรือยัง มีความบางตัวลงแล้วหรือยัง มากหรือน้อยแค่ไหน ทารกอยู่ในตำแหน่งไหน และท่าไหนแล้ว

พัฒนาการทารกในครรภ์ 37 สัปดาห์

  • ความยาวของลูกสัปดาห์จะอยู่ที่ 35 ซม. หนักประมาณ 2,950 กรัม
  • อวัยวะต่าง ๆ สมบูรณ์เต็มที่ ปอดและหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถกระพริบตาได้คล่องขึ้น มีลำคอที่หนาขึ้น ผิวบางอมชมพู
  • ช่วงสัปดาห์นี้ ทารกเริ่มเอาศีรษะกลับหัวลงมาบริเวณอุ้งเชิงกรานแล้ว

อาหารบำรุงครรภ์ 37 สัปดาห์

ถึงแม้ว่าอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ส่วนใหญ่เติบโตเต็มที่ แต่สมองยังคงเติบโตและพัฒนาต่อไปเป็นเวลา 1,000 วัน ดังนั้น คุณแม่ควรเน้นทานโอเมก้า 3 พบมากในนม ไข่ เนื้อปลา และถั่วต่าง ๆ แต่ถ้าหากใน 1 วันคุณแม่กินถั่วร่วมด้วย ให้คุณแม่ลดปริมาณนมลงเหลือเพียง 1 แก้ว เพราะการกินโปรตีนมากไปอาจเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดอาการภูมิแพ้ได้

อายุครรภ์ 38 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์

  • เพราะร่างกายของคุณแม่แบกรับน้ำหนักมานานทำให้ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมาในสัปดาห์นี้คุณจะมีอาการเจ็บเพิ่มมากขึ้นในบริเวณหัวหน่าวยังปัสสาวะบ่อยอยู่
  • ความสูงของยอดมดลูกต่ำลง หรือทั่วไปเรียกว่า “ท้องลด” การดื่มน้ำก่อนนอนตอนกลางคืนทำให้คุณแม่ลุกปัสสาวะบ่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณแม่หน้ามืด เป็นลมได้ ดังนั้น ควรเลี่ยงการดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนนอนและการลุก หรือการนั่ง การเดินควรทำอย่างช้า ๆ นะคะ
  • มดลูกจะเริ่มมีการหดรัดเกร็งมากขึ้น แรงขึ้น และบ่อยขึ้น ถ้าหากถุงน้ำคร่ำแตก หรือมีของเหลวไหลออกมาพร้อมกับเลือด ให้รีบโรงพยาบาลโดยด่วน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 38 สัปดาห์

  • ความยาวของทารกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 37-38 ซม. หนักประมาณ 3,100 กรัม
  • สัปดาห์นี้รกเริ่มแก่ทำให้ประสิทธิภาพในการส่งต่ออาหารน้อยลง
  • ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง เตรียมพร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอก
  • การเคลื่อนไหว การดิ้นจะน้อยลง เพราะทารกกลับหัวแล้วทำให้พื้นที่มีอย่างจำกัด ช่วงนี้คุณแม่ต้องคอยนับหรือสังเกตการดิ้นของลูกด้วยนะคะ หากไม่ดิ้นเป็นเวลานานควรปรึกษาคุณหมอทันที

อายุครรภ์ 39 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์

  • ช่วงนี้คุณแม่อาจมีความกังวลมาก คิดไปหลายเรื่องทั้งเรื่องความสมบูรณ์ของลูก เรื่องการคลอด เรื่องการเจ็บท้อง ฯลฯ ทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งจะส่งผลให้แรงเบ่งไม่พอหากต้องมีการคลอด
  • การหดรัดเกร็งของมดลูก ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ต้องกังวลค่ะให้คุณแม่คอยสังเกตอาการว่ามีน้ำคร่ำแตกหรือมีของเหลวไหลออกมาพร้อมเลือดหรือไม่ก็พอค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 39 สัปดาห์

  • ความยาวของทารกโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 37-38 ซม. หนักประมาณ 3,250 กรัม
  • อวัยวะทุกส่วนเติบโตเต็มที่ พร้อมจะออกมาสู่โลกภายนอก ทารกเริ่มกลับหัว แต่หากไม่กลับหัว อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ

อาหารบำรุงครรภ์ 39 สัปดาห์

คุณแม่ควรเน้นทานวิตามินบี 1 เสริมซักนิด เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายนะคะ วิตามินบี 1 พบมากใน ไข่แดง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย มันฝรั่ง ตับโยเกิร์ตนม และถั่วต่าง ๆ ค่ะ

อายุครรภ์ 40 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์

  • การรอคอยของคุณแม่ยังมีอยู่ในทุกวันพร้อมกับความเจ็บปวดทางร่างกายที่ยังมีอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ปวดอวัยวะเพศ ปวดขา ปวดเอว ปวดหลัง (เรียกว่าส่วนไหนที่ปวดได้ ก็ปวดเกือบหมดเลยค่ะ) แต่..จะมีอาการดังต่อไปนี้ ที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณแม่ควรไปโรงพยาบาลโดยด่วน
    • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
    • น้ำเดิน นั่นหมายถึงถุงน้ำคร่ำแตก จะมีลักษณะน้ำใสๆ เหมือนปัสสาวะ แต่ไหลออกมาทางช่องคลอด
    • เจ็บท้อง หากมีอาการเจ็บที่สม่ำเสมอทุก 5 นาที ไม่ต้องรอน้ำเดิน หรือรอมีมูกเลือด ให้ไปที่โรงพยาบาลทันทีค่ะ
    • กลับกัน หากเข้าสัปดาห์ที่ 40 แล้ว คุณแม่ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลอด ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ สามารถรอให้ถึงสัปดาห์ที่ 42 ได้ค่ะ แต่โดยทั่วไปเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 41 คุณหมอจะนัดตรวจและให้ยากระตุ้นการคลอด แต่หากให้ยากระตุ้นแล้วยังไม่มีผลใดๆ คุณหมอจะพิจารณาเรื่องการผ่าคลอดต่อไปค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 40 สัปดาห์

  • หากคุณแม่ท่านไหนที่คลอดภายในสัปดาห์ที่ 37-42 ไม่ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดนะคะ เพราะทางการแพทย์จะกำหนดคลอด นั่นคือ การคาดคะเนวันคลอดคร่าวๆ เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัวค่ะ
  • สำหรับสัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 48 ซม. หนักประมาณ 3,250 กรัม ทารกส่วนใหญ่จะกลับหัว และเริ่มเคลื่อนตัวสู่ช่องคลอดหรือช่องเชิงกราน ทารกอาจดิ้นน้อยลง แต่ยังคงดิ้นนะคะ อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง

อาหารบำรุงครรภ์ 40 สัปดาห์

อาหารที่แนะนำในช่วงนี้คือ อาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินบี 1 และวิตามินซี ค่ะ เพื่อเป็นการเสริมให้คุณแม่มีพละกำลังในการที่จะอุ้มลูกน้อยนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้าง ระยะเวลากว่า 40 สัปดาห์ ที่รอคอย ฟังดูเหมือนจะนานนะคะ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ มันเร็วมาก เพราะฉะนั้น การดูแลใส่ใจทั้งตั้วคุณแม่เองและลูกน้อยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่าลืมว่าหลังคลอด คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอีกมาก เพื่ออีกหนึ่งชีวิตน้อย ๆ ที่รอคุณแม่อยู่นะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  3. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  4. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP