เด็กจ้ำม่ำ เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

โรค
JESSIE MUM

ต้องบอกว่าหลายคนเวลาที่เห็นเด็กอ้วนจ้ำม่ำก็จะเกิดความเอ็นดูในความน่ารัก แต่…รู้หรือไม่คะว่า “ความจ้ำม่ำหรือความอ้วน” นั้น แท้จริงแล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพ เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย

เด็กจ้ำม่ำหรือเด็กอ้วนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น

ปัจจุบันเด็กตัวอ้วนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากการกินอาหารประเภททอด อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว ของหวาน รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมาก น้ำอัดลม แต่เผาผลาญออกไปได้น้อย จึงทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย โรคอ้วนจึงถามหา

โรคที่เกิดกับเด็กอ้วน

โรคที่สามารถเกิดได้ในเด็กอ้วน มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในหลอดเลือดสูงอาจทำให้หยุดหายใจขณะหลับ และ
  • โรคไขมันพอกตับ โดยมีความเสี่ยงสูงถึง 22.5-44%

โรคไขมันพอกตับในเด็ก

  • เด็กที่อ้วนเมื่อเป็นโรคนี้จะส่งผลให้ตับมีโครงสร้างที่ผิดปกติ อาจถึงขั้นทำให้ตับอักเสบหรือตับแข็งได้ เพราะมีพังผืดในตับมากเกินไป
  • จากสถิติ เด็กที่อ้วนสามารถมีอาการตับแข็งได้ตั้งแต่อายุเพียง 8 เท่านั้น
  • เด็กที่อ้วน เมื่อถึงช่วงวัยรุ่นจะมีโอกาสเป็นไขมันพอกตับได้มากกว่าวัยรุ่นที่ไม่อ้วนได้ถึง 20 เท่า

อาการโรคไขมันพอกตับในเด็ก

ไม่แสดงออกอย่างเด่นชัดมากนัก อาจจะแค่มีอาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ใส่ใจลูกมากนัก อาจไม่ได้คิดว่าลูกจะมีโอกาสเป็นโรคนี้

โรคไขมันพอกตับกับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์

การตรวจวินิจฉัยที่ง่ายที่สุดคือ

  • การอัลตร้าซาวน์ตับ
  • การตรวจเลือด เพื่อดูค่าการทำงานของตับ
  • การตรวจด้วย Fibro Scan เป็นการตรวจวัดความแข็งของตับ ประเมินว่ามีพังผืดในตับมากผิดปกติหรือเปล่า ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

การตรวจด้วยไฟโบรสแกน (Fibro Scan) เหมาะกับเด็กกลุ่มไหน

  • เด็กที่มีภาวะอ้วน ลงพุง หรือมีน้ำหนักเกิน
  • เด็กที่ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีค่าการทำงานของตับ ALT มากกว่า 22เพราะมีโอกาสเป็นตับแข็ง
  • มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ ซี
  • ทานยา หรือ ทานสมุนไพรติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ

ข้อดีของการตรวจด้วย ไฟโบรสแกน (Fibro Scan)

  • ตรวจง่าย ได้ผลเร็ว
  • ลูกไม่ได้รับความเจ็บปวด
  • สามารถตรวจวินิจฉัยภาวะตับแข็งในระยะแรกเริ่มได้
  • สามารถติดตามผล และประเมินผลความรุนแรงของตับแข็ง เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาในขั้นต่อไปได้
  • สามารถใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม หรือปฏิเสธการเจาะตับได้
  • สามารถตรวจปริมาณไขมันสะสมในตับสำหรับผู้ที่เป็นโรคไขมันเกาะตับได้ในคราวเดียว

การป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับในเด็ก

การป้องกันที่ดีที่สุด เริ่มได้จากครอบครัวค่ะ คือ การปรับพฤติกรรมเด็ก โดย…

  1. การทานอาหารยังเน้นให้ทานใน 3 มื้อหลักอยู่ ไม่ต้องงด ไม่ต้องถึงขั้นอดอาหารลูกนะคะ เพียงแต่มื้อเย็น…ให้ทานในปริมาณที่น้อยลงกว่าปกติ
  2. งดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก อาทิ นมเปรี้ยว น้ำอัดลม น้ำผลไม้บรรจุกล่อง
  3. งดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย กะทิ รวมไปถึงอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
  4. งดขนมกรุบกรอบ ขนมขบเคี้ยว ระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจหาเป็นผลไม้แทน
  5. ชวนลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน อาทิ เดินเล่นหรือวิ่งเล่นรอบบ้าน ชวนกันขุดดิน ลงดินปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น เพื่อเป็นการออกกำลังกาย เผาผลาญพลังงานจากอาหารที่ทานเข้าไป วันละ 30-60 นาที หรืออาจให้ลูกช่วยงานบ้านก็ได้ค่ะ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน แต่…หากยังเป็นเด็กเล็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ๆ เค้า เพื่อแนะนำเค้าด้วยนะคะ
  6. ลดและค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของลูกโดยการไม่ให้เด็กนั่งอยู่กับที่นาน ๆ โดยไม่มีการเดินหรือวิ่ง หรือเคลื่อนย้ายไปไหนเลย เช่น การนั่งดูทีวี การนั่งเล่นเกม เป็นต้น โดยในหนึ่งวันคุณพ่อคุณแม่ควรอนุญาตให้ลูกนั่งทีวีหรือเล่นเกมได้ไม่เกิน 2 ชม. นะคะ

ปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นเด็กจ้ำม่ำ น้ำหนักเยอะ

คุณแม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลต่อน้ำหนักตัวลูก

ซึ่งมีปัจจัยดังนี้

  • ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
  • เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes)
  • คุณแม่มีภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์
  • น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์มากเกินเกณฑ์

นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ (ฝั่งคุณแม่)

โดยมีงานวิจัยระบุว่า การที่คุณแม่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ของทางฝั่งคุณแม่ได้ด้วย

ลูกที่ไม่ได้กินนมแม่ เพิ่มโอกาสการเกิดโรคอ้วน

ทารกที่ดื่มนมจากขวดจะไม่สามารถควบคุมปริมาณนมที่ต้องการให้อยู่ในเกณฑ์พอดีได้ ด้วยเหตุผลดังนี้

  • ทารกไม่สามารถดูดเต้าเปล่าได้ (non – nutritive sucking) จากอกแม่ได้
  • นมไหลจากขวดเร็วกว่านมแม่ และใช้แรงดูดน้อยกว่านมแม่
  • นมจากขวดจะไหลออกมา ไม่ว่าจะมีแรงดูดหรือไม่ก็ตาม
  • ทารกจะกินนมไปเรื่อย ๆ จนกว่านมจะหมด แม้ว่าเขาจะอิ่มแล้วก็ตาม

ฝึกให้ลูกกินอย่างพอดี

เมื่อเข้าวัย 6 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่ต้องให้อาหารเสริม คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกลูกให้กินอย่างถูกวิธี และกินอย่างพอดีได้ตั้งแต่วัยนี้ค่ะ ด้วยการ…

  • เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก โดยกินแต่อาหารที่มีประโยชน์
  • กินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการกินข้าวร่วมกัน
  • เลือกโปรตีนที่ดีแต่ไม่อ้วน เช่น ไก่ ปลา เป็ด รวมถึงใส่ผักต่าง ๆ ลงไปด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มสีสันและคุณค่าทางโภชนาการ
แม่โน้ต

เรื่องการกินผัก กินผลไม้ หรือกินอาหารที่มีประโยชน์ ควรทำให้เป็นกิจวัตรเลยค่ะ เพราะลูกจะทำตามที่พ่อแม่ทำ มากกว่าคำที่พ่อแม่สอน

  • หลีกเลี่ยงหรืองดได้เลยยิ่งดี กับอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน และลูกอม
แม่โน้ต

หลายคนบอกชีวิตจริง บางครั้งก็ต่างกับทฤษฎี จริงค่ะ แม่โน้ตก็เชื่ออย่างนั้น ถามว่าเด็กก็มีบ้างอารมณ์แบบอยากกินขนมหวาน ๆ แม่โน้ตเองก็ให้กินค่ะ แต่จะบอกลูกก่อนว่า “กินเพื่อรู้” และต้องแปรงฟันหลังกินขนมหรือของหวานเสมอ เพราะเด็กยังไงก็คือเด็ก ถ้าเราห้ามเขาได้ ต่อหน้าเขาจะไม่ทำ แต่ลับหลัง เราก็ไม่อาจรู้ได้ โชคดีที่น้องมินไม่ชอบน้ำอัดลม และลูกอม เพราะแม่โน้ตไม่กินค่ะ

เริ่มเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมคะ ว่าเด็กจ้ำม่ำหรือเด็กอ้วนนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องดี เรามารักลูกให้ถูกทางกันเสียแต่วันนี้นะคะ เพื่อลูกจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ร่าเริง แจ่มใส พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอค่ะ

อ้างอิง โรงพยาบาลสมิติเวช

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP