มือเท้าปาก…ไม่อยากเป็น>.<

โรค
JESSIE MUM

เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561)มีข่าวเกี่ยวกับการระบาดของโรคมือเท้าปากกันมากเลยทีเดียว ทำให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศตื่นตัวกันใหญ่กับเรื่องนี้ สรุปแล้วโรคนี้มีความรุนแรงแค่ไหน? จะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับเชื้อนี้แล้ว? มีอาการอย่างไรบ้าง?ต้องนอน รพ. หรือไม่? จะหายภายในกี่วัน? และอีกหลายคำถามตามมา วันนี้เราจะมาแบ่งปันเรื่องนี้กันค่ะ

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบบ่อยในทารกและเด็กเล็กที่อายุต่ำว่า 5 ปีนับเป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อและคุณแม่อยู่ไม่น้อยทีเดียวเพราะก่อนหน้านี้พบว่ามีเด็กบางรายเสียชีวิตจากโรคนี้ด้วย แต่ในบางรายเป็นไม่มาก สามารถหายได้เอง

ทำไมบางรายถึงเสียชีวิต บางรายก็หายได้เอง?

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นค่ะ

สาเหตุของโรค

โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีเป็นร้อยๆ สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่พบบ่อยคือ

  • คอกซากีไวรัส (coxsackievirus A16)ตัวนี้เป็นไวรัสที่ไม่ดุ ผู้ป่วยสามารถมารับการรักษาและหายได้เองภายใน 4-5 วัน
  • เอนเทอโรไวรัส71 (enterovirus 71)ตัวนี้เป็นตัวร้ายแรง เพราะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

รับเชื้อได้ทางใดบ้าง?

  • สัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่งจากจมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มใสๆ รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วย
  • สัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น ของใช้ อาหาร หรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย

ซึ่งสถานที่ที่พบบ่อยที่สุดคือ โรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็ก และมักระบาดในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว

อาการ

อาการเริ่มแรกจะเหมือนไข้หวัด คือ

  • มีไข้ต่ำ
  • หลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ2-3 วันจะมีผื่นแดงหรือตุ่มใสขึ้นเป็นกลุ่มที่หัวเข่า ศอก ก้น ฝ่ามือ นิ้วมือ หรือฝ่าเท้า เป็นต้น
  • ประมาณวันที่ 4 ของการติดเชื้อจะมีแผลร้อนในเกิดขึ้นในปาก โดยจะขึ้นจากจุดใกล้ๆ ทอนซิลแล้วขยายวงออกมาที่ผนังด้านนอก

ซึ่งถ้าลูกน้อยบอกว่า “เผ็ด” หรือ “เจ็บ” ในปากให้คุณพ่อคุณแม่ตรวจในปากลูกเบื้องต้นได้เลยค่ะ เพราะอาจเริ่มมีแผลในปากแล้วหากพบแผลดังกล่าว ควรรีบนำส่งแพทย์เพื่อการรักษาทันทีค่ะ โดยระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 5-7 วัน กรณีที่รับเชื้อไม่รุนแรงนะคะ

ภาวะแทรกซ้อน

โรคนี้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การเสียชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มใสที่ขึ้นตามร่างกายดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพราะถึงแม้แผลในปากหรือตุ่มใสจะหายไปแล้ว แต่หากลูกน้อยมีอาการหรือสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ ควรรีบนำส่งแพทย์ทันทีนะคะ

  • ลูกน้อยซึม เบื่ออาหาร ไม่เล่นซนเหมือนเคย
  • ปวดศีรษะมาก
  • อาเจียน
  • ไอ มีเสมหะมาก
  • หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ

การรักษา

โรคนี้ยังไม่มียากรักษาโดยเฉพาะค่ะ เพียงแต่รักษาตามอาการ เช่น ให้ทานยาลดไข้ เมื่อมีไข้ หากผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้ จนนอนซึม ก็จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด หรือหากเจ็บแผลในปาก คุณหมอก็จะให้ยาชามาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารได้ เป็นต้นค่ะ

การป้องกัน

ด้วยความที่โรคนี้ยังไม่มียาหรือวัคซีนตัวใดที่รักษาเฉพาะโรค ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดโดย

  • หลีกเลี่ยงหรืออยู่ให้ห่างไกลผู้ป่วย
  • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย เช่น จาน ช้อน ชาม ขวดน้ำ หรือขวดนม
  • ล้างมือบ่อยๆ หลังลูกเล่น ก่อนทานอาหาร หรือก่อนจะหยิบจับอาหารหรือสิ่งของต่างๆ ให้ลูกน้อย
  • หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการคล้ายโรคมือเท้าปาก ควรรีบพาไปหาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และหากลูกน้อยเป็นโรคมือเท้าปากจริง ควรให้หยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ

หากโรงเรียนพบเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากควรมีการจัดการอย่างเข้มงวด เช่น

  • ปิดทั้งโรงเรียนอย่างน้อย 2สัปดาห์ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
  • ทำความสะอาดห้องเรียน ของเล่น รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้สะอาด
  • คัดกรองผู้ป่วยและแยกไว้ต่างหาก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่นำกลับไปรักษาจนกว่าจะหายดี
  • ควรล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ



จากทั้งหมดที่กล่าวมา เนื่องจากโรคยังไม่มียารักษาโดยตรง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด คอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเพื่อการรักษาที่ทันท่วงที ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่คงต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับโรคนี้หากเกิดขึ้นกับลูกน้อย รอจนกว่าลูกจะโตขึ้นและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นต่อไป

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP