ภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ และโรคประจำตัวที่ต้องเฝ้าระวัง

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

“ดีใจด้วยครับ คุณตั้งครรภ์ได้ 2 เดือนแล้ว”

เป็นครอบครัวไหนก็ดีใจที่ได้ยินแบบนี้ การตั้งครรภ์เป็นเรื่องธรรมชาติ การได้อุ้มท้องเป็นอะไรที่มีความสุขมาก แต่…ระหว่างทางของการตั้งครรภ์อาจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบทุกคน ต้องเจอกับภาวะเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์มากมาย ที่นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเรื่องของโรคประจำตัวที่มีมาก่อนคลอดประกอบด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ

ภาวะเสี่ยงตั้งครรภ์ คืออะไร?

การที่คุณแม่จะเข้าสู่ภาวะเสี่ยงได้ก็ต่อเมื่อมี “ปัจจัยเสี่ยงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และ/หรือลูกน้อยในครรภ์” อย่างไรก็ตามถ้าคุณแม่แจ้งข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ กับคุณหมอได้อย่างละเอียด คุณหมอก็จะสามารถประเมินสถานการณ์และเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง phyathai.com

ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง?

  • เคยมีประวัติการคลอดลูกแล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างการคลอดและหลังคลอดมาก่อนหน้า
  • คุณแม่มีการตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 40 ปี
  • มีเลือดออกท่งช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์
  • มีประวัติการคลอดก่อนและหลังกำหนด หมายถึง คลอดก่อนอายุครรภ์ที่ 37 สัปดาห์ หรือคลอดอายุครรภ์เกิน 42 สัปดาห์ขึ้นไป
  • เคยมีประวัติแท้งบุตรมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง
  • มีประวัติการคลอดบุตรที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม
  • มีภาวะทารกพิการทางสมอง
  • มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อนหน้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “อาการครรภ์เป็นพิษ สามารถเกิดได้ระหว่างตั้งครรภ์แม่ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน

ก่อนท้องร่างกายก็แข็งแรงดี แต่ทำไมตอนท้องถึงมีอาการครรภ์เป็นพิษได้ล่ะ? อาการครรภ์เป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ เพราะอะไร? คลิกที่นี่ค่ะ

  • มีครรภ์แฝด
  • มีกรุ๊ปเลือด Rh ที่เป็นลบ
  • มีความดันโลหิตสูง โดยมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  • เป็นโรคไต
  • เป็นโรคหัวใจ
  • ติดยาเสพติดหรือสุรา
  • มีโรคประจำตัวเป็นโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคโลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE) โรคทาลัสซีเมีย โรคลมชัก และวัณโรค เป็นต้น
  • เป็นโรคติดเชื่ออย่าง เชื่อ HIV กามโรค หรือเป็นพาหะตับอักเสบบี

ข้อมูลอ้างอิง bumrungrad.com

อาการผิดปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์

  • คุณแม่มีอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ
  • มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • มีขนาดท้องที่เล็กหรือใหญ่กว่าปกติ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 4 หรือ 5 แล้วลูกยังไม่ดิ้น

5 โรคควรระวังก่อนตั้งครรภ์

โรคหัวใจ

คุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ปัญหาผนังกั้นห้องหัวใจมีรูโหว่ เมื่อวางแผนอยากจะตั้งครรภ์สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและประเมินความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ เพราะว่าปกติแล้วหัวใจก็ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้มีความสมดุลทั่วร่างกายและเมื่อตั้งครรภ์นั้นช่วงท้ายก่อนคลอดเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้นถึง 40% ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเป็นอย่างมาก คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจจึงอาจจะเสี่ยงต่อการหัวใจวายในขณะตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก

โรคลมชักหรือลมบ้าหมู

จริงๆ แนวโน้มโดยส่วนใหญ่สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคนี้กว่าร้อยละ 50 จะไม่มีอาการเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ร้อย 40 บอกว่ามีอาการดีขึ้น และร้อยละ 10 แพทย์ผู้ดูแลครรภ์ต้องเพิ่มขนาดยาควบคุมการชัก เพราะอาการของโรคนี้เกิดจากแผลในสมองส่งผลต่อคลื่นสมองทำให้เกิดอาการคลื่นสมองผิดปกติทำให้เกิดอาการชักและหมดสติ โดยเมื่อหมดสติแล้วนั้นจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนไปชั่วขณะหนึ่ง จุดนี้นอกจากจะส่งผลเสียให้คุณแม่แล้วยังส่งผลโดยตรงต่อลูกน้อยในครรภ์อีกด้วยจึงเป็นโรคที่ต้องคอยเฝ้าระวังไว้ให้ดี

โรคไต

ปกติแล้วไตจะเป็นอวัยวะที่คอยขับของเสียจากการเผาพลาญของร่างกายออกมาเป็นปัสสาวะซึ่งเมื่อตั้งครรภ์ลูกน้อยก็จะขับของเสียร่วมออกมาทางสายสะดือเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่ด้วยในจุดนี้ไตของคุณแม่จะทำงานหนักขึ้น ซึ่งคุณแม่ที่มีปัญหาโรคไตอยู่แล้วจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ ในดีอีกด้วย

โรคทาลัสซีเมีย

เกิดจากยีนที่ผิดปกติจนทำให้เกิดการสร้างสารโพลีเปปไตด์โกลบินซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเม็ดเลือดแดงให้เกิดลดน้อยลงหรืออาจถึงขั้นไม่สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาเลย ทำให้มีอาการซีดเล็กน้อยหรือถึงขั้นต้องให้เลือดทดแทนกันเลยทีเดียว
โรคทาลัสซีเมียนี้เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดด้อย ซึ่งในบางครั้งแล้วนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็มักไม่มีอาการปรากฏแต่จะมียีนแฝงอยู่ในตัว เมื่อต่างฝ่ายต่างถ่ายทอดยีนด้อยร่วมกันจึงมีผลทำให้ลูกได้รับยีนที่ผิดปกติเต็มที่จนเป็นผลต่อการแสดงอาการของโรคทาลัสซีเมียได้ชัดเจนนั่นเอง

ไวรัสตับอักเสบบี

เป็นโรคที่พบเห็นกันบ่อยในประเทศไทยและมีคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นพาหะของโรคนี้กันเป็นจำนวนมาก
โดยผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้มักมีโอกาสเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึงกว่า 200 เท่าเลยทีเดียว และสามารถติดต่อกันง่ายที่สุดโดยผ่านทางเลือด ดังนั้นโอกาสที่ทารกจะติดโรคนี้จากแม่ก็โดยการสัมผัสกับเลือดที่เป็นพาหะในขณะคลอดนั่นเอง
วิธีป้องกันคือการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ทารกภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และคอยฉีดกระตุ้นภูมิ ต้านทานอีก 3 เข็ม คือ ตั้งแต่หลังคลอด เมื่ออายุได้ 1 เดือน และ 6 เดือน และก็หมั่นพาลูกไปเฝ้าดูอาการและตรวจหาเชื้อพาหะเสมอนั่นเอง

การป้องกันและการรักษาภาวะแทรกซ้อน

ถึงแม้ว่าคุณแม่บางรายจะมีโรคประจำตัว แต่คุณหมอก็จะแนะนำให้คุณแม่มีการเตรียมความก่อนการตั้งครรภ์ โดยการมาปรึกษากับคุณหมอก่อนการมีบุตร เพื่อตรวจเช็คสุขภาพอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการซักประวัติ การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจเลือด เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าคุณแม่พร้อมกับการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงหลังคลอด

ทั้งนี้ การดูแลตัวเองเบื้องต้นที่เหมาะสม ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ดังนี้

  • กินวิตามินโฟลิค (โฟเลต) 4 – 5 มิลลิกรัมต่อวัน เริ่มตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ไปตลอดจนคลอด
  • ได้รับวัคซีนป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมกับการควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสายตามความเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

เพื่อให้การตั้งครรภ์ผ่านไปได้ด้วยดี แข็งแรงทั้งคุณแม่และลูก ทันทีที่คุณแม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์ทันทีนะคะ เพื่อแพทย์จะได้ประเมินอาการและดูแลอย่างใกล้ชิด หรือก่อนการตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการตรวจสุขภาพก็จะเป็นการดีที่สุดนะคะ


ก่อนท้องร่างกายก็แข็งแรงดี แต่ทำไมตอนท้องถึงมีอาการครรภ์เป็นพิษได้ล่ะ? อาการครรภ์เป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ เพราะอะไร? คลิกที่นี่ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP