มีลูกดื้อ ปราบได้ โดยไม่ต้องถือไม้เรียว

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

ลูกดื้อ” พฤติกรรมของลูกๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องเจอไม่มากก็น้อย แต่ถ้าลูกคนไหนพูดดี ๆ ครั้ง สองครั้งก็ยังไม่ฟัง สามครั้งก็ยังนิ่งจนคุณแม่ต้องเหนื่อยใจ ถือไม้เรียวทุกครั้ง ทั้งขู่ ทั้งปลอบ ทั้งเอาจริงก็แล้ว ลูกยังไม่มีทีท่าว่าจะเชื่อฟังเท่าไหร่ วันนี้ผู้เขียนเทคนิคการปราบลูกดื้อจากคุณหมอโรงพยาลบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์มาฝากค่ะ ไปดูกันเลยค่ะ

“มากินข้าวก่อนลูก” (แต่ก็ยังเล่น)
“วางเบาๆ ค่ะ” (แต่ก็ยังโยน)
“นั่งดี ๆ สิลูก” (แต่ก็ยังหันหน้าหันหลังไม่หยุดนิ่ง)

ยังมีอีกหลาย ๆ พฤติกรรมที่ต้องทำให้คุณพ่อคุณแม่ปากเปียกปากแฉะ เพลียใจไปตาม ๆ กัน

ทำความเข้าใจ “ลูกดื้อ”

การที่ลูกวัย 0-6 ปี แสดงการต่อต้านคุณพ่อคุณแม่ หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “ความดื้อ” นั้น นับเป็นพัฒนาการหนึ่งของเด็กที่กำลังเติบโต เพราะเค้าแสดงออกว่าเค้าสามารถคิดเองได้ และสามารถตัดสินใจเองได้ และที่สำคัญ เด็กๆ กำลังทดสอบกรอบที่คุณพ่อคุณแม่วางไว้ และเพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวเองต้องอยู่ในภาวะที่เข้มงวดแค่ไหน แต่…การที่ลูกดื้อนั้นไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย แต่เค้ากำลังเรียนรู้เรื่องการใช้เหตุผลและการตัดสินใจเลือกที่จะทำหรือไม่ทำในสิ่งต่างๆ
ในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ควรรู้เท่าทันพัฒนาการของลูก และเตรียมตัวเตรียมใจรับมือให้เหมาะสมกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูก ช่วยให้ลูกได้ปรับตัวจากเด็กดื้อมาเป็นเด็กที่มีความรู้สึกดีต่อตนเอง รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย สามารถใช้ชีวิตทั้งในบ้านและนอกบ้านได้อย่างมีความสุข
เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกันซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเค้ามาแต่กำเนิด แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนไปได้บ้างตามการเลี้ยงดู

สาเหตุที่ลูกดื้อ ร้องเอาแต่ใจ

เพราะธรรมชาติของคนเราต้องการความสุข ความสมหวัง เด็กเล็กๆ ก็เช่นกัน แต่ก็เป็นธรรมดาโลกอีกเช่นกันที่ไม่มีใครสมหวังในทุกสิ่ง ในเด็กเมื่อเค้าได้รับความผิดหวัง เค้าก็จะเกิดความคับข้องใจ จึงต้องบรรเทาออกด้วยการ “ร้องไห้โวยวาย” แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่จะให้เค้าได้ระบายออกในลักษณะนี้ทุกครั้งหรือบ่อยๆ นะคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเค้าควบคุมอารมณ์ร้องไห้เอาแต่ใจให้เป็น ลูกก็จะรู้จักความผิดหวัง รู้จักอกทน และจะตัดใจได้เก่งขึ้น

หนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ลูกไม่ร้องไห้โวยวายหรือช่วยลูกควบคุมอารมณ์ก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้อง “รู้ก่อนว่าลูกต้องการอะไร? และตอบสนองเค้าให้ถูกวิธี

มีลูกดื้อ ปราบได้ โดยไม่ต้องถือไม้เรียว

ต้องบอกก่อนว่าวิธีการเพิกเฉยไม่ใช่วิธีการทิ้งลูก แต่เป็นการให้ลูกได้อยู่กับตัวเอง และทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้สงบสติอารมณ์อีกด้วยค่ะ การที่คุณพ่อคุณแม่คอยโอ๋ตลอดเวลา ทำให้เด็กมองไม่เห็นความเป็นผู้นำหรือความเด็ดขาดของเรา ดังนั้น เราไปดูกันเลยค่ะ ว่า “การเพิกเฉย” ที่ถูกวิธีต้องทำอย่างไร

ขั้นที่ 1 สงบสติอารมณ์

เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่โดยต้องมีสติควบคุมตัวเองให้อารมณ์เย็นเสียก่อน ย้ำว่าห้ามทำข้อนี้ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีอารมณ์ร้อนนะคะ เพราะจะกลายเป็นทิ้งลูก

ขั้นที่ 2 มองหน้าลูก

คุณแม่ต้องสบตาลูก มองหน้าเค้า และพูดด้วยน้ำเสียงที่นิ่งและมั่นคงว่า “แม่จะรอจนกว่าหนูจะเงียบ แล้วเราค่อยคุยกัน”

ขั้นที่ 3 เพิกเฉยลูก

เริ่มเพิกเฉยลูกทั้งคำพูด ท่าที สายตา ไม่ต้องเช็ดน้ำตาหรืออุ้ม ถ้าลูกเข้ามาหาเพื่อให้กอดหรือให้อุ้ม คุณพ่อคุณแม่ควรหันหน้าไปทางทิศอื่น อย่างหวั่นไหวเหลือบมองให้ลูกเห็น เพราะเค้าจะจับไต๋เราได้ ว่าเราใจอ่อนแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่หันหางานอย่างอื่นทำ เช่น พับผ้า ล้างจาน เป็นต้น

แต่…หากลูกทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายคนอื่น ให้หยุดเพิกเฉยซักพัก จับมือลูกให้แน่น และพูดกับเค้าว่า “ไม่ตีแม่/ไม่โยนของ” แกะของออกมามือลูก ปล่อยมือลูก และเพิกเฉยต่อ หากลูกยังทำอีกให้คุณพ่อคุณแม่ทำแบบเดิมอีกจนกว่าเค้าจะหยุดทำ

ขั้นที่ 4 กลับไปหาลูก เมื่อลูกเงียบได้แล้ว และควรพูดกับลูก ดังนี้

  • ชม : “หนูเงียบได้แล้ว เก่งค่ะลูก”
  • คุย : ถามลูกว่า “เมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น” เพื่อช่วยให้เค้าได้เข้าใจอารมณ์ตนเองมากขึ้น แต่หากลูกยังเล็กอธิบายไม่ถูก ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อยเรียบเรียงให้เค้าฟัง แต่ต้องสั้นและกระชับมากนะคะ เพื่อให้เค้าเชื่อมโยงได้ว่า เมื่อลูกเลิกร้องไห้ พ่อกับแม่ถึงจะมาเล่นด้วย
  • ตบบวก : คือ การหากิจกรรมที่เค้าชอบมาเล่นด้วยกันเป็นการปลอบลูก เช่น การเล่านิทาน หรืออ่านหนังสือเล่มที่เค้าชอบ แต่ไม่แนะนำ “ของเล่น” นะคะ เพราะเค้าจะเข้าใจว่าถ้าเค้าเงียบสิ่งที่เค้าจะได้คือของเล่น

อายุ vs ความดื้อ เป็นเรื่องที่สอดคล้องกัน

เด็กวัยคลาน

พัฒนาการและการเติบโตของลูกมีส่วนในเรื่องนี้ค่ะ การที่ลูกแลดูไม่เชื่อฟังคุณแม่นั้น เป็นเพราะลูกต้องการทดสอบขีดจำกัดของคุณแม่เท่านั้น และอยากรู้ว่ากรอบที่ตัวเองจะทำได้นั้นอยู่แค่ไหน สิ่งนี้เป็นการบ่งบอกว่าลูกมีการเติบโตทางด้านความคิดและจิตใจ เขากำลังเริ่มมีความคิด เรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และเรียนรู้ในการตัดสินใจเลือกในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งหลาย ๆ ครอบครัวอาจเคยได้ยินคำว่า “Terrible Two” นั่นเองค่ะ สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ใน “Terrible Two (วัยทอง 2 ขวบ) คืออะไร? ข้อดีของ Terrible Two


ลูก 2 ขวบ ชอบเอาแต่ใจ ขี้โวยวาย แบบนี้จะใช่ Terrible Two หรือเปล่า? คำตอบรอคุณแม่อยู่ในนี้แล้วค่ะ คลิกที่นี่

เด็กวัยอนุบาลและวัยประถม

วัยนี้อายุก็ราว ๆ 3 – 4 ขวบขึ้นไป เป็นวัยที่เข้าใจอะไรหลาย ๆ อย่างมากขึ้นแล้ว อาทิ การโกหก การขโมย รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก วัยนี้เขาจะทดสอบคุณแม่ในเรื่องที่ยากขึ้นไปอีก เขาจะทดสอบว่ากรอบที่เคยวางไว้นั้นยังเหมือนเดิมอยู่หรือไม่ การสอนในแต่ละครั้งยังเหมือนกันอยู่หรือเปล่า เช่น เมื่อวานบอกไม่ให้ทำ วันนี้บอกทำได้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น คุณแม่ต้องตั้งหลักให้ดีนะคะ เพราะถ้าคุณแม่แกว่งตั้งแต่ตอนนี้ อนาคตลุกจะไม่เชื่อฟังแน่นอน

การเลี้ยงลูกและการตอบสนองลูกในเชิงบวกเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ต้องแลกมากับความใจเย็นและสติของคุณแม่ ฟังดูแล้วเหมือนเป็นแค่ทฤษฎี แต่เรื่องนี้ฝึกกันได้ค่ะ เพียงแต่อย่าโทษตัวเองหากทนไม่ไหวแล้วปรี๊ดแตกใส่ลูกขึ้นมา เพราะไม่มีใครที่ทำครั้งแรกแล้วได้ผลเลย ขอให้ฮึดแล้วเริ่มฝึกใหม่ ซักวันคุณแม่ต้องทำได้แน่นอน

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP