ลูกดูดนิ้วทำไงดี? จะเลิกดูดตอนกี่ขวบ

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ

ลูกดูดนิ้ว” เป็นพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องเจอแน่นอนค่ะ ถึงแม้ว่าดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรปล่อยเค้าให้ทำพฤติกรรมนานๆ จนติดเป็นนิสัยนะคะ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อนิ้วและสุขภาพช่องปากของลูกได้ ที่สำคัญ หากลูกไปเล่นสนุกมา แต่คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ทันล้างมือให้ ลูกดูดนิ้วซะก่อนแล้ว อาจส่งผลให้ลูกท้องเสีย หรือไม่สบายได้ค่ะ


ฟิงเกอร์ฟู้ด (Finger Food) หรือ อาหารแบบแท่ง ชื่อนี้อาจจะคุ้นเคยกับคุณพ่อคุณแม่บางครอบครัว แต่บางครอบครัวที่เป็นมือใหม่อาจจะยังไม่รู้ว่าคืออะไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับพัฒนาการของลูกน้อย วันนี้เรามีเรื่องราวและวิธีการเลือกฟิงเกอร์ฟู้ดมาฝากค่ะ

มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกกัน

พฤติกรรมการดูดนิ้วของเด็กจะเริ่มตั้งแต่เค้าอายุประมาณ 1 ขวบขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมปกติค่ะ และ เด็กจะติดพฤติกรรมนี้ไปจนอายุประมาณ 4-5 ขวบ เมื่อถึงตอนนี้ลูกจะเลิกได้เองโดยธรรมชาติค่ะ แต่ถ้าหากลูกยังไม่สามารถเลิกได้ อาจส่งผลเสียต่อฟันแท้ด้านหน้าที่กำลังจะขึ้นมาได้ค่ะ
ถ้าลูกอายุได้ซัก 4 – 5 ขวบ ยังไม่มีวี่แววว่าจะเลิกพฤติกรรมการดูดนิ้ว ซึ่งอาจส่งผลเสียให้กับฟันแท้ด้านหน้าที่กำลังจะขึ้นได้ เช่น ฟันหน้ายื่น สบเปิด (ยื่นมากจนไม่สามารถกัดเพื่อทานอาหารได้) ถ้าถึงขั้นนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกไปพบทันตแพทย์แล้วล่ะค่ะ ทางที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจลูก ด้วยการช่วยให้ลูกเลิกพฤติกรรมการดูดนิ้ว ยิ่งเลิกได้เร็วมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับลูกมากเท่านั้น

ลูกชอบดูดนิ้วแม้จะเข้าอนุบาลแล้ว ผิดปกติไหม?

พัฒนาการยังอยู่ในขั้นปาก (ตามทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์)

คุณพ่อคุณแม่อาจหาเวลาเล่นกับลูก โดยของเล่นที่ใช้นั้น ควรเน้นเรื่องการใช้มือเป็นหลัก เพราะเค้าจะเพลินกับของเล่น และจะสนุกมากขึ้นหากมีคุณพ่อคุณแม่เล่นกับเค้าด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกเพลินจนลืมเรื่องการดูดนิ้วไปเลยค่ะ


ลูกติดการดูดนิ้วน่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราชอบเห็นเด็กๆ ทั่วไปทำกันแต่ว่าการดูดนิ้วนั้นก็เป็นปัญหาที่แม้จะเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วนั้นก็ไม่ควรจะปล่อยให้นานเกินไปเพราะอาจจะสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและนิ้วของลูกคุณได้

ขาดความมั่นใจในตัวเอง มีความกังวล

เด็กที่ชอบดูดนิ้ว อาจเป็นการแสดงออกถึงการขาดความมั่นใจในตัวเอง หรืออาจจะมีเรื่องกังวล จึงพยายามลดความกดดันในตัวเองด้วยการเติมเต็มความรู้สึกของตัวเองด้วยการดูดนิ้วนั่นเองค่ะ

ขาดการสัมผัสอันอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดู

ข้อนี้สำคัญมากค่ะ เพราะทารกทุกคนต้องการความรัก ความอบอุ่น และการยอมรับจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งถ้าหากเด็กไม่ได้รับในสิ่งที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ทารกจะเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะเขาไม่ได้รับความอบอุ่นและการดูแลจากคุณพ่อคุณแม่จึงใช้การดูดนิ้วเข้ามาแทนที่ อย่างน้อยเขาจะรู้สึกว่า “นิ้ว” ก็สามารถเป็นเพื่อนเขาได้

ต้องการความเพลิดเพลิน

โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอน ทารกดูดนิ้วเพราะเขาจะได้รู้สึกปลอดภัย และมีเพื่อนที่พร้อมจะอยู่กับเขาตลอดเวลา

ลูกดูดนิ้วทำไงดี?

เลือกของเล่นที่ใช้มือเป็นหลัก

คุณพ่อคุณแม่อาจหาเวลาเล่นกับลูก โดยของเล่นที่ใช้นั้น ควรเน้นเรื่องการใช้มือเป็นหลัก เพราะเค้าจะเพลินกับของเล่น และจะสนุกมากขึ้นหากมีคุณพ่อคุณแม่เล่นกับเค้าด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกเพลินจนลืมเรื่องการดูดนิ้วไปเลยค่ะ

หมั่นดึงมือออกจากปากลูก

การจะให้ลูกทำอะไร หรือไม่ทำอะไรซักอย่างหนึ่ง ต้องใช้เวลาค่ะ การดูดนิ้วก็เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมลูกบ่อยหน่อยนะคะ เพราะทันทีที่เค้าเอานิ้วเข้าปาก ให้คุณแม่คอยดึงออกทันที ด้วยท่าทีของคุณพ่อคุณแม่ที่นุ่มนวล ไม่เล่นนะคะ ไม่เช่นนั้น ลูกจะเข้าใจว่านี่คือการเล่น ไม่ใช่การช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้วค่ะ

ไม่ควรป้ายยาขม หรือติดพลาสเตอร์ที่นิ้ว

ผู้เขียนสารภาพว่าเคยเอายาขมป้ายนิ้วลูก วันแรกเค้าไม่ดูดจริงค่ะ แต่พอเข้าวันที่ 2-3 ดูดนิ้วอร่อยเลย ยาขมไม่มีผลกับลูก แต่พอมาพิจารณาอีกที การเอายาขมป้ายที่นิ้วหรือการติดพลาสเตอร์ที่นิ้วยิ่งจะทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่สามารถระบายความรู้สึกออกมาได้ ยิ่งทำให้เครียดมากขึ้นกว่าเดิม และการเลิกดูดนิ้วก็จะยิ่งทำได้ยากมากขึ้น ผู้เขียนก็ไม่เคยทำอีกเลย

ทำกิจกรรมเบาๆ กับลูกก่อนเข้านอน

ก่อนเข้านอนให้คุณพ่อคุณแม่หากิจกรรมเบาๆ ให้ลูก เช่น การพูดคุยกัน การร้องเพลงกล่อม หรือจะเป็นการเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน โดยระหว่างการอ่านนิทานนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่อ่านไป เอานิ้วจิ้มที่ตัวหนังสือไปขณะอ่าน ช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะยังไม่ทำตาม แต่ผ่านไปไม่กี่วัน เดี๋ยวลูกก็จะเอานิ้วจิ้มตามแบบเราเองค่ะ เพราะเด็กวัยนี้ชอบเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว ผู้เขียนลองแล้วได้ผลค่ะ จนตอนนี้ลูกจะอ่านนิทานให้คุณแม่ฟังแทนแล้ว^^

หากิจกรรมเคลื่อนไหวทำในตอนกลางวัน

คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกไปเดินเล่น วิ่งเล่น รดน้ำต้นไม้ หรือพรวนดิน เพื่อให้ลูกได้ออกกำลังกาย (ได้บริหารกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กมัดใหญ่ด้วยนะคะ) เพื่อให้เวลาที่เข้านอนในตอนกลางคืน ลูกจะเพลีย ส่งผลให้หลับง่าย บ๊าย บาย การดูดนิ้วค่ะ

อย่าบังคับหรือตีลูก

หากคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้ลูกเลิกพฤติกรรมการดูดนิ้ว ก็ต้องใจเย็นๆ นะคะ เพราะการบังคับ ดุด่า หรือใช้กำลัง ไม่ได้ช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้วได้ วิธีนี้นอกจากจะยังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้แล้ว ยังจะทำให้ลูกยิ่งเครียด และเกิดความกลัวมากขึ้น ซึ่งทั้งสองเหตุผลนี้ก็คือ ตัวการของการที่ลูกดูดนิ้วนั่นเอง กลับกัน คุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆ เอามือเค้าออกด้วยท่าทีนุ่มนวล ให้กำลังใจ แลชมเชยตามสมควรเวลาที่ลูกไม่ดูดนิ้วดีกว่าค่ะ

โดยปกติแล้ว เด็กจะเลิกดูดนิ้วได้เองเมื่ออายุราว ๆ 4 – 5 ขวบ แต่บางครอบครัวอาจพบว่าลูกโตแล้วแต่ยังดูดนิ้วอยู่ และอาจไม่ทราบว่าจะมีผลเสียในเรื่องอะไรบ้าง สามารถติดตามอ่านได้จากบทความนี้ค่ะ “โตแล้วแต่ยังดูดนิ้ว ส่งผลเสียต่อการโครงสร้างฟันและการพูดออกเสียง” พร้อมวิธีรับมือลูกดูดนิ้วสำหรับเด็กโตค่


ลูกอายุ 5 ขวบกว่าแล้วยังไม่เลิกดูดนิ้ว จะส่งผลเสียอะไรบ้าง? สามารถติดตามได้ พร้อมวิธีแก้ไขลูกโตแล้วยังดูดนิ้วได้ที่นี่ คลิกเลยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP