ลูก 3 ขวบ เจ้าอารมณ์ ชอบกรีดร้อง เพราะอะไร พร้อมวิธีรับมือ

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

โดยปกติแล้วพัฒนาการของเด็กในวัย 2 – 6 ขวบ จะเป็นวัยที่เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เริ่มเรียนรู้อะไรได้เยอะมากขึ้น อย่างที่คุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกันดีในเรื่องของวัยทอง 2 ขวบ (Terrible Two) (คลิกที่นี่ >> “Terrible Two (วัยทอง 2 ขวบ) คืออะไร? ข้อดีของ Terrible Two” ที่ลูกน้อยเริ่มมีความก้าวร้าว พอเข้า 3 ขวบ ลูกก็เริ่มวีน เหวี่ยง และเจ้าอารมณ์มากขึ้น ซึ่งวันนี้ก่อนที่เราจะไปเรื่องของการแก้ไข หรือการรับมือ แม่โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุกันก่อนค่ะ


ลูก 2 ขวบ ชอบเอาแต่ใจ ขี้โวยวาย แบบนี้จะใช่ Terrible Two หรือเปล่า? คำตอบรอคุณแม่อยู่ในนี้แล้วค่ะ คลิกที่นี่

ลูก 3 ขวบ เจ้าอารมณ์ เกิดจากอะไร?

เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง

อย่างที่รู้กันว่าเด็กในวัย 2 – 6 ขวบ เขาจะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง อยากเรียนรู้ และอยากหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง จนในบางครั้งการที่ลูกน้อยต้องการจะทำอะไรด้วยตัวเองต้องทำให้เขาต้องหาทางแสดงออกให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ แต่ด้วยความที่คำศัพท์ในหัวเขายังน้อย ทำให้ลูกไม่รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไรให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ลูกน้อยจึงเกิดอาการหงุดหงิด (ทั้งที่ตัวเองก็ไม่รู้จะสื่อสารอย่างไร ผนวกกับคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ) ลูกน้อยจึงแสดงอาการก้าวร้าว โมโห วีน เหวี่ยง และเจ้าอารมณ์ออกมา

ต้องการอิสระ

Erik Erickson นักจิตวิทยาเจ้าของทฤษฎีจิตสังคม ได้ระบุเอาไว้ว่า เมื่อเด็กอายุได้ 2 – 3 ขวบ เขาจะเริ่มมีพฤติกรรมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพของตนเอง พัฒนาการนี้เริ่มตั้งแต่การที่ลูกน้อยเริ่มเดินได้ เขาจึงอยากที่จะสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังที่คุณแม่จะสังเกตเห็นได้ว่าเขาจะชอบเดิน ๆ ๆ และเดิน เดินไม่หยุด รวมถึงเขาต้องการที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองอีกด้วย

แม่โน้ต

สังเกตง่าย ๆ เวลาที่คุณแม่พาลูกไปเดินห้าง หรือสวนสาธารณะ เขาจะชอบสะบัดมือออกจากคุณแม่แล้วเดินเอง เขาจะรู้สึกมีความสุขมาก ๆ คุณแม่ก็คอยตามดูอยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ ไป

เกิดจากการเลียนแบบ

การเลียนแบบของเด็กเกิดได้ทั้งจากที่บ้านและที่โรงเรียน หากสาเหตุจากที่บ้านก็มักจะมาจากการที่เด็กถูกดุ ถูกตะคอก หรือถูกลงโทษอย่างรุนแรงมาก่อน ทำให้เด็กฝังใจและจำพฤติกรรมเหล่านี้มา ส่วนที่โรงเรียน เด็ก ๆ อาจเห็นพฤติกรรมนี้จากเพื่อน ๆ ที่เมื่อต้องการอะไรแล้วก็จะกรีร้อง ทำให้ลูกน้อยซึมซับพฤติกรรมนี้จากเพื่อนที่โรงเรียน

เริ่มฝึกการควบคุมตนเอง

ด้วยความที่ลูกเริ่มเดินได้ เขาจะเดินสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ส่งผลให้เขาเดินไม่หยุด ทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าลูกเรานี่ซนเหลือเกิน เดินได้ทั้งวัน ดื้อ บอกก็หยุด แต่สิ่งเหล่านี้คือเป็นวิธีการเสริมสร้างพัฒนาการของตัวเองตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องอาศัยจัหวะนี้สอนลูกน้อย ว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ ต่อไปลูกน้อยก็จะเริ่มชั่งใจได้ว่าสิ่งไหนคือ สิ่งที่ควรทำมากที่สุด

เกิดจากการเลี้ยงดูของครอบครัว

ถ้าจากในมุมมองของนักจิตวิทยาเด็กจะแนะนำให้คุณ่พ่อคุณแม่เลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่ (Authoritative) มากกว่าการควบคุม (Authoritarian) เช่น สนับสนุนให้ลูกได้มีอิสระ มีพัฒนาการการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ตามวัย แต่ก็ต้องมีการกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมลูก ๆ ด้วย โดยการอธิบายให้ลูกฟังก่อนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ พร้อมทั้งควรเปิดโอกาสให้ลูกได้พูด คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรับฟังอย่างเปิดใจ ไม่บังคับให้ลูกต้องในความต้องการของคุณพ่อคุณแม่อยู่ตลอดเวลา

ลูก 3 ขวบ เจ้าอารมณ์ แก้ไขอย่างไร?

สอนลูกด้วยเหตุผล

ถ้าอยากให้ลูกเป็นเด็กมีเหตุผล คุณพ่อคุณแม่ควรมีเหตุผลกับลูกก่อน เช่น ถ้าลูกชอบเอาของเล่นมาเคาะโต๊ะจนเกิดเสียงดัง ไม่ควรพูดกับลูกด้วยอารมณ์ “ไม่เคาะ ๆ หนวกหู รำคาญ!” แต่ควรพูดว่า “หนูชอบอยู่ในที่ที่เสียงดังไหมลูก?” เป็นต้น

ลงโทษได้ แบบมีเหตุผล

ถ้าลูกทำผิด คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติก่อน ไม่ควรตีลูกหรือดุด่ารุนแรง แต่ควรถามลูกว่า “เพราะอะไรหนูถึงทำแบบนี้คะ?” เพื่อฟังแนวความคิดของลูกก่อน กลับกันถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ใช้ความรุนแรงกับลูกจะยิ่งทำให้ลูกยิ่งแสดงออกในทางที่ก้าวร้าวมากขึ้น เนื่องจากเขาจะคิดว่าเพราะอะไรคุณพ่อคุณแม่ไม่ฟังเขาบ้าง แต่การลงโทษควรอธิบายให้ลูกเข้าใจก่อนว่าเพราะอะไรถึงต้องลงโทษเขา

ชื่นชม ให้กำลังใจ

การตอบสนองลูกในเชิงบวกเป็นอะไรที่ดีที่สุด ซึ่งถ้าลูกพยายามปรับตัว ทำในสิ่งดี ๆ ไม่ก้าวร้าว เจ้าอารมณ์ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชื่นชมและให้กำลังใจลูกตามสมควรนะคะ คือไม่จำเป็นต้องให้เป็นของขวัญอะไรขนาดนั้น เพราะจะทำให้ลูกกลายเป็นติดการให้สินบนได้

ไม่ดุลูก เมื่อลูกแสดงออกทางอารมณ์

จริง ๆ แล้ว เป็นการดีที่ลูกแสดงออกทางอารมณ์ สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ คอยเตือนลูกถ้าหากลูกมีการแสดงอารมณ์ที่รุนแรงมากเกินไป ดีกว่าควบคุมลูกไม่ให้แสดงออกทางอารมณ์เลย เพราะลูกจะกลายเป็นเด็กเก็บกด

การเลี้ยงลูกเป็นอะไรที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ทั้งทางคำพูดและการกระทำ การเลี้ยงลูกไม่ใช่ดุไม่ได้เลย แต่ต้องใช้สติในการดุลูก ป้องกันลูกเก็บกดและต่อต้าน จะดุอย่างไรนะ คลิกที่นี่ >> “ดุลูก 3 ขวบ อย่างไรให้ได้ผล


ลูก 3 ขวบ ดื้อมาก พอดุเข้าก็ทำเป็นเงียบ ซักพักก็ทำอีก ทำอย่างไรดี? เด็กวัย 3 ขวบเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่จะดุอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP