เทคนิครับมือเจ้าตัวแสบโวยวาย อาละวาด

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

มีบ้านไหนบ้างคะที่เวลาลูก ๆ ในวัย 1-3 ขวบ เมื่อมีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจก็จะโวยวาย อาละวาด และท่าไม้ตาย (ที่ลูก ๆ คิดอย่างนั้น) ก็คือ การลงไปนอนกองกับพื้น หรือเคยเห็นเด็กคนอื่น ๆ เป็นไหมคะ

จะบอกว่าเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคนก็คงไม่ถูกต้องนัก เพราะเด็กบางคนอาจไม่ได้พีคถึงขึ้นสุด (ลงนอนกับพื้น) แต่ถ้าหากเรื่องเด็กโวยวาย หงุดหงิดน่ะมีแน่ เด็กบางคนอาจใช้วิธีกระทืบเท้าแทนการนอน ซึ่งวันนี้โน้ตมีเทคนิคที่จะรับมือกับเด็ก ๆ เหล่านี้มาฝากค่ะ แต่ก่อนที่จะไปถึงเทคนิควิธีแก้นั้น โน้ตอยากให้คุณพ่อคุณแม่หันมาทำความเข้าใจกับพัฒนาการของเด็กทางด้านจิตใจในวัย 1-3 ขวบกันสักนิดก่อนค่ะ

Youtube : เทคนิครับมือเจ้าตัวแสบโวยวาย อาละวาด

พัฒนาการด้านจิตใจของเด็กในวัย 1-3 ขวบ

เด็กวัย 1-1 ½ ขวบ

เด็กวัย 1-1 ½ ขวบ

ต้องการที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง ชอบควบคุมผู้อื่น มักมีการปฏิเสธอยู่บ่อยๆ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่สามารถทนต่อภาวะที่ถูกขัดใจหรือคับข้องใจได้ เริ่มมีพฤติกรรมติดตุ๊กตา ของเล่น หรือผ้าห่ม

เด็กวัย 1 ½-2 ขวบ

เด็กวัย 1 ½-2 ขวบ

จะมีปฏิกิริยาที่เป็นบวกหรือลบค่อนข้างแรง เริ่มมีการใช้คำพูดหรืออารมณ์ออกมา เช่น ไม่เอา หวงของ หรือซ่อนของเวลาที่มีเด็กตนอื่นเข้ามาเล่นด้วย ชอบส่องกระจก ชอบนั่งตัก และกอดคอผู้ใหญ่ที่เค้ารักและสนิทด้วย

เด็กวัย 2-2 ½ ขวบ

เด็กวัย 2-2 ½ ขวบ

ลูกเริ่มเรียนรู้ว่าหากพ่อแม่ไม่อยู่ในช่วงเวลาหนึ่งแต่ก็จะกลับมา หวาดระแวงและกลัวตามสิ่งที่ผู้ใหญ่กลัว เช่น จิ้งจก หนู และแมลงสาบ เป็นต้น กลัวความมืด ความสิ่งแปลกใหม่ กลัวเสียงดัง รู้สึกภูมิใจในตัวเองถ้ามีคนรัก มีคนชม หรือได้รับการยอมรับ

เด็กวัย 2 ½-3 ขวบ

เด็กวัย 2 ½-3 ขวบ

อึดอัดและคับข้องใจเวลาที่พูดอะไรแล้วผู้ใหญ่ไม่ฟัง หรือฟังแล้วไม่เข้าใจเค้า เมื่อเวลาที่ต้องการอะไรก็จะยืนยันเสียงแข็งต้องเอาให้ได้ ไม่มียืดหยุ่น บางครั้งก็ดูเหมือนลูกมีอารมณ์แปรปรวนบ่อย

ผลเสียที่ตามมาหากลูกมีพฤติกรรมโวยวาย อาละวาด

ผลเสียที่ตามมาหากลูกมีพฤติกรรมโวยวาย อาละวาด

เพราะลูก ๆ ยังมีคำศัพท์ในหัวน้อย ผนวกกับพฤติกรรมเบื้องต้นที่กล่าวไป จะมีผลเสียตามมาดังนี้ค่ะ

  • มีการทำลายข้าวของ เขวี้ยงของ
  • ทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บ
  • อารมณ์ด้านลบจะเป็นตัวขัดขวางในการเรียนรู้ของเด็ก
  • มีปัญหาด้านการเข้าสังคมและความสัมพันธ์

เทคนิคการรับมือเจ้าตัวแสบโวยวาย อาละวาด

ตั้งสติ ควบคุมอารมณ์และวิธีการพูดของตัวเอง

ตั้งสติ ควบคุมอารมณ์และวิธีการพูดของตัวเอง

หากลูกกำลังโวยวาย หรือคุณแม่สังเกตเห็นแล้วว่าซึนามิของลูกกำลังจะมา ให้คุณแม่หลับตา shut down ภาพลูกแล้วนับ 1-5 ในใจ เพื่อตั้งสติ เพื่อการควบคุมอารมณ์ของคุณแม่ให้ได้ก่อน เพราะหากคุณแม่ปล่อยพลังออกมาเหมือนลูก จะส่งผลต่อคำพูดที่พรั่งพรูตามอารมณ์เช่นกัน นอกจากนี้ จะยิ่งทำให้ลูกเห็นว่า “แม่ยังทำได้ หนูก็ทำได้เหมือนกัน
ให้คุณแม่ใจเย็น ๆ เพื่อที่จะอธิบายให้ลูกฟัง แต่หากลูกยังอยู่ในอารมณ์อาละวาดอยู่ ก็ต้องปล่อยให้ลูกระบายออกมาก่อน

ให้ลูกได้ลองทำในสิ่งที่ต้องการ

ให้ลูกได้ลองทำในสิ่งที่ต้องการ

แต่ก็ไม่ใช่ทุกเรื่องนะคะ คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาก่อนว่าสิ่งที่ลูกอยากทำนั้น เกินขอบเขตไปหรือเปล่า หรือไม่อย่างนั้นลองสร้างทางเลือกให้ลูกในกิจกรรมที่ใกล้เคียงและไม่เสี่ยงเกินไป โดยที่ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าเค้าถูกบังคับนะคะ

กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน

กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน

ก่อนลงมือทำทุกครั้ง ควรกำหนดขอบเขตว่าอะไรทำได้ และอะไรทำไม่ได้ให้ชัดเจน อธิบายให้ลูกเข้าใจ การพูดคุยควรมีท่าทีที่จริงจังทุกครั้ง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเคร่งครัดในการใช้กติกาที่ตั้งขึ้นมาเช่นกัน

เพิกเฉย

เพิกเฉย

สำหรับข้อนี้ คุณพ่อคุณแม่เพิกเฉย แต่แนะนำว่า “ไม่ควรเดินหนีลูก” นะคะ เพราะถ้าทำแบบนั้นก็จะยิ่งทำให้ลูกร้องกรี๊ด และดิ้นหนักเข้าไปใหญ่ เพียงแต่ให้คุณพ่อคุณแม่เพิกเฉยไม่มองเค้า แต่ยังอยู่ตรงนั้นกับเค้าก่อน เมื่อเค้าเห็นว่าไม่ได้ผล เค้าจะเลิกเอง

ใช้ทฤษฎี Time In

ใช้ทฤษฎี Time In

คำถามแรก “ทำไมไม่ Time Out?
เพราะว่าการใช้ “Time Out” คือ การปล่อยให้เด็กอยู่กับตัวเองแล้วนั่งทบทวนถึงการกระทำของตัวเองที่ผ่านมา ซึ่งวิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กทุกคน บางคนคิดได้ บางคนคิดไม่ได้ แถบยิ่งไปในด้านลบมากขึ้น พื้นฐานของเด็กต้องการ “ความรัก และความเข้าใจ” จากคุณพ่อคุณแม่ การใช้ “Time In” คือ การที่คุณพ่อคุณแม่เข้าหาลูก กอดเค้า และพูดกับเค้าด้วยความเข้าใจ เข้าใจในความต้องการของเค้า ลูกจะเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณพ่อคุณแม่ว่าเค้ายังเป็นที่รักอยู่

สำหรับเรื่อง Time Out and Time In โน้ตเคยเขียนเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้ ลองไปอ่านเพิ่มเติมกันได้นะคะ

เวลาที่ลูกงอแง โวยวาย หรือมีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ การเข้าหาลูก และอธิบายถึงเหตุผลที่ถูกต้องให้เค้าฟัง จะช่วยได้ค่ะ (แต่การอธิบายต้องกระชับนะคะ) อย่าเพิ่งคิดแทนลูกว่าลูกไม่เข้าใจ การให้เหตุผลแบบผู้ใหญ่จะทำให้เมื่อลูกโตขึ้น เค้าจะเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้นค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP