อยู่ไฟหลังคลอด คืออะไร? จำเป็นไหม?

การคลอดและหลังคลอด

การอยู่ไฟ” เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินกันมาเยอะ การอยู่ไฟนี้นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง และได้ส่งต่อกันมาอย่างช้านาน แม้ว่าอุปกรณ์ สถานที่อาจถูกปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ด้วยหลักการแล้วยังคงเดิม การอยู่ไฟจะใช้กับคุณแม่หลังคลอด ซึ่ง ณ ปัจจุบันอาจคำถามกันมาเยอะว่าอยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม? จะมีประโยชน์หรือมีโทษอะไรบ้างวันนี้เราไปทำความรู้จักเรื่องของการอยู่ไฟหลังคลอดกันค่ะ

การอยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นไหม?

การอยู่ไฟหลังคลอด สมัยก่อน

นับจากที่คุณแม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ร่างกายและฮอร์โมนของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้น การอยู่ไฟจึงเป็นการช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเจ็บปวดและเหนื่อยล้านั้นให้กลับเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วด้วยความร้อน ซึ่งจะส่งผลให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อทั้งบริเวณแขนและขาที่ถูกกดทับในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นได้คลายตัว นอกจากนี้ความร้อนยังทำให้เลือดลมไหลเวียนดี มดลูกที่ขยายตัวนั้นกลับเข้าอู่ได้เร็ว และปากมดลูกปิดสนิท ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้อีกด้วย

ในสมัยก่อนหลังจากที่คุณแม่คลอดแบบธรรมชาติแล้วนั้น หมอตำแยเขาจะไม่ได้เย็บปิดแผล คุณแม่จึงต้องนอนนิ่ง ๆ ขาชิดกัน เพื่อให้แผลปิดเร็ว แต่ด้วยความที่นอนนิ่งเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลที่ไม่ค่อยดีต่อร่างกาย เกิดความอ่อนล้า เวลาลุกคุณแม่จึงหน้ามืด ดังนั้น จึงต้องใช้ความร้อนเข้ามากระตุ้นการไหลเวียนของเลือดนั่นเองค่ะ

อาหารแม่หลังคลอด

เนื่องจากการที่คุณแม่ต้องนอนผิงไฟเป็นเวลานาน ก็จะเสียเลือดมาก ดังนั้นหมอตำแยจึงให้คุณแม่กินข้าวกับเกลือ เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไป พร้อมกับให้งดอาหาร (ที่ว่า) แสลงต่าง ๆ อาทิ เนื้อสัตว์ และไข่ เป็นต้น

การอยู่ไฟหลังคลอด ปัจจุบัน

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หากคุณแม่ไปคลอดที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย แพทย์จะทำการเย็บแผลที่ฉีกขาดให้เรียบร้อย คุณแม่จึงไม่จำเป็นต้องนอนนิ่ง ๆ เหมือนสมัยก่อน เพราะการที่ร่างกายไม่ได้ขยับเลยจะทำให้น้ำคาวปลาไหลไม่สะดวก ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสให้คุณแม่เกิดอาการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้อีกด้วยค่ะ จึงไม่น่าจะเป็นผลดีแน่

อาหารแม่หลังคลอด

สารอาหารสำคัญที่ร่างกายคุณแม่หลังคลอดต้องการก็คือ โปรตีน เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายหรือบอบช้ำอันเกิดจากการคลอด ซึ่งโปรตีนพบมากในไข่ และเนื้อสัตว์ เหล่านี้ล้วนเป็นอาหารที่คุณแม่ควรได้รับ นอกจากนี้สารอาหารเหล่านี้ยังช่วยในการสร้างน้ำนมได้ดี ยกเว้นว่าถ้าคุณแม้แพ้อาหารเหล่านี้อยู่ก่อนแล้วก็ควรเลี่ยงค่ะ

ความจริงยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่คุณแม่หลังคลอดกินได้ สามารถติดตามได้ที่ “คุณแม่หลังคลอด คุณแม่ลูกอ่อน กินอะไรได้บ้าง


อยู่ไฟหลังคลอดมาแล้ว จะกินอาหารอะไรได้บ้าง? พบกับเมนูอาหารแม่หลังคลอดได้ที่นี่ พร้อมวิธีทำ คลิกที่นี่

ขั้นตอนของการอยู่ไฟหลังคลอด

เช็คประวัติคุณแม่

เป็นช่วงการเตรียมพร้อมร่างกายก่อน พร้อมซักประวัติโรคประจำตัว ตรวจวัดอุณหภูมิในร่างกาย ถ้าไม่มีไข้ จึงให้อยู่ไฟได้

อาบน้ำสมุนไพรสด

สมุนไพรประกอบไปด้วย ขมิ้น ไพล มะกรูด ตะไคร้ ใบมะขาม ใบส้มเขียว ใบส้มป่อย ฯลฯ ด้วยความอุ่นของน้ำสมุนไพร จะช่วยให้รูขุนขนเปิด เพื่อให้สมุนไพรซึมเข้าสู่ผิวได้ ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น และขับน้ำคาวปลาได้

นึ่งหม้อเกลือ

หม้อเกลือหรือหม้อที่ใส่เกลือไว้นั่นเอง การใช้ความร้อนหจากหม้อเกลือผ่านผิวหนังไปทีละชั้น เพื่อให้มดลูกแห้งและเข้าอู่เร็ว ป้องกันการตกเลือด ช่วยขับน้ำคาวปลาได้

ประคบหน้าท้องด้วยใบพลับพลึงสด

นำหม้อเกลือที่ตั้งไฟแล้ว นำมาวางบนใบพลับพลึง ห่อด้วยผ้า นำไปวางตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเบามือ แต่ให้มีน้ำหนักที่สม่ำเสมอกัน เป็นช่วยขจัดเซลลูไลท์ หรือไขมันส่วนเกิน และลดอาการปวดเมื่อยได้ดี

ทายานึ่งหน้าท้องให้ยุบลง

ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนกว่า 10 ชนิด มาบดรวมกันใช้ร่วมกับน้ำกระสายยา ทาบริเวณหน้าท้องก่อนที่จะนึ่งหม้อเกลือและประคบอิฐ

ประคบอิฐหรือการทับอิฐ

เป็นขั้นตอนที่ดึงเอาน้ำในร่างกายให้ระเหยออกมา ผ่านความร้อนจากอิฐ เพื่อกระตุ้นในน้ำคาวปลาไหลได้สะดวก ลดการอักเสบของมดลูกและลดอาการบวมต่าง ๆ

นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

การนวดแบบนี้เป็นการนวดเพื่อปรับธาตุ และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดในร่างกาย

ประคบหน้าอก

จะประคบบริเวณต่อมท่อน้ำนม เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการผลิตน้ำนมมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้หน้าอกหย่อนคล้อยอีกด้วย

ประคบตัวด้วยสมุนไพรสด

นำลูกประคบสมุนไพรสด ที่นึ่งร้อนแล้ว ประคบไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อลดอาการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอันเนื่องมาจากการอุ้มท้อง

นวดตัวด้วยน้ำมันงาดิบบริสุทธิ์

นวดข้อนี้เป็นการนวดคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และยังช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ลดการอักเสบของเส้นเลือด ช่วยบำรุงผิวพรรณ เนื้อเยื่อ เส้นประสาท และกระดูก

นวดสลายเซลลูไลท์

จะเป็นลักษณะนวดเฉพาะจุด เช่น ต้นแขน ต้นขา สะโพก และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการก่อนตัวขึ้นมาของไขมันในลักษณะคล้ายผิวส้ม

นั่งอิฐหรือนั่งถ่าน **สำหรับคุณแม่ที่คลอดแบบธรรมชาติเท่านั้น**

ช่วยให้แผลบริเวณฝีเข็มสมานกันได้เร็วขึ้น และแห้งไวขึ้น โดยจะใช้การเผาไหม้ของสมุนไพร เพื่อให้เกิดควันอุ่น ๆ ลอยขึ้นมากระทบที่ฝีเย็บ วิธีนี้ยังเป็นการช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อช่องคลอดให้คืนสภาพแข็งแรงได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยค่ะ

การรมตา

ใช้การอังดวงตาด้วยสมุนไพรก่อนที่คุณแม่จะเข้ากระโจมสมุนไพร ขั้นตอนนี้จะช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาทส่วนบน ดวงตาจะสดใส ยืดอายุการใช้งานได้ ลดอาการตาพร่ามัวได้

เข้ากระโจม อบด้วยสมุนไพรสด

เป็นการช่วยขับของเสียออกมาทางเหงื่อ ปอดและหลอดเลือดฝอยจะขยายตัว ทำให้คุณแม่หายใจได้สะดวกขึ้น การไหลเวียนของโลหิตก็จะดีไปด้วย ผิวพรรณสดใส กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดี เลี้ยงลูกน้อยได้อย่างมีความสุขค่ะ

ขัดผิวด้วยเกลือสมุนไพร

เป็นการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วให้หลุดออกไป เซลล์ผิวใหม่ก็ขึ้นมาแทนที่ ขจัดคราบดำตามซอกคอ และรักแร้ได้เป็นอย่างดี

ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสมุนไพร

หลังจากที่คุณแม่เข้ากระโจมแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการล้างทำความสะอาดร่างกาย ช่วยขับน้ำคาวปลา และช่วยเปิดรูขุมขน ให้สมุนไพรซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส

คาดไฟชุดตำรับหลวง

ช่วยแก้อาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว แก้อาการหนาวสะท้าน และแก้อาการตะคริวได้ ซึ่งถ้าใช้อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ลดหน้าท้องได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลอ้างอิง ruenthaidelivery.com

การอยู่ไฟหลังคลอดบางครอบครัวก็ยังใช้วิธีนี้อยู่ บางครอบครัวอาศัยแพทย์แผนปัจจุบันเช่น การให้น้ำเกลือ และการกินยาช่วยให้มดลูกรัดตัว ซึ่งทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัวนะคะ แต่หลังจากที่คุณแม่ได้ดูแลตัวเองแล้ว ยังมีในเรื่องของอาหารการกินของคุณแม่หลังคลอดที่สามารถติดตามได้จากที่นี่ค่ะ “อยู่ไฟหลังคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแม่หลังคลอด พร้อมวิธีทำ


อยู่ไฟหลังคลอดมาแล้ว จะกินอาหารอะไรได้บ้าง? พบกับเมนูอาหารแม่หลังคลอดได้ที่นี่ พร้อมวิธีทำ คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP