สัญญาณที่บ่งบอกว่า แบบนี้ ตั้งครรภ์ ชัวร์

เตรียมตัวเป็นแม่

ครอบครัวไหนที่กำลังลุ้นว่าลูกจะมาหรือยัง? อาการแบบนี้จะเรียกได้ว่า “ตั้งครรภ์” ไหม? วันก่อนเหมือนจะใช่ เมื่อวานดูอีกทีก็ไม่ใช่ แต่มาตอนเช้าก็เหมือนจะใช่อีก เอาอย่างนี้ไม่ต้องสับสนกันอีกต่อไปแล้วล่ะค่ะ เพราะวันนี้โน้ตรวบรวมอาการของคนที่ตั้งครรภ์มาฝาก จะมีสัญญาณอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าน้องมาชัวร์ ไปติดตามกันค่ะ

สารบัญ

สัญญาณที่บ่งบอกว่า แบบนี้ “ตั้งครรภ์” ชัวร์

ประจำเดือนขาด

ประจำเดือน” คำนี้ไม่ต้องตีความอะไรให้ยุ่งยากเลยค่ะ ถ้าเดือนนั้นไม่มาสักที เป็นสายบัวรอเก้อ แต่ถ้าจะให้มั่นใจต้องประมาณสักเดือนกว่า ๆ นะคะ แสดงว่าไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว

ขี้หงุดหงิด

จากที่เคยร่าเริงสดใส แต่หากตั้งครรภ์ อารมณ์ของว่าที่คุณแม่จะเปลี่ยนไป เป็นขี้หงุดหงิด โมโหง่าย แต่ก็จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ นะคะ ไม่ใช่โวยวาย ทะเลาะกัน เป็นการหงุดหงิดที่คนรอบข้างจะจับสัญญาณได้ว่า “นี่ไม่ใช่ภรรยาคนเดิม เพิ่มเติมคือ ลูกในท้องนั่นเอง

คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ

แต่อาการข้อนี้ยังไม่ถึงบ้านหมุนนะคะ อันนั้นแรงไป เพียงแต่อาการของคนที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ และอาเจียนในช่วงเช้า โดยมากมักเป็นเช่นนี้หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 1 เดือน อาการนี้จะลดลงเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 แต่เดี๋ยวก่อน…สำหรับข้อนี้ก็ไม่ได้เป็นกันทุกคนนะคะ บางคนแพ้แค่ช่วงแรก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ บางคนไม่แพ้เลย และในขณะที่บางคนแพ้ท้องไปจนใกล้คลอดเลยก็มี ซึ่งโน้ตโชคดีที่ไม่แพ้ค่ะ แต่กลับหิวทุก 2 ชม.

โน่นก็เหม็น นี่ก็เหม็น

ว่าที่คุณแม่ที่คาดว่าจะตั้งครรภ์จะมีอาการเหม็นโน่นเหม็นนี่ กลายเป็นคนจมูกไว เหตุเพราะการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายอย่างเอสโตรเจนเปลี่ยนไปในปริมาณที่ดีดตัวสูงขึ้นมาก (เอิ่ม…ไม่ใช่หุ้น) ทำให้เหม็นไปเกือบทุกอย่าง พอเหม็นมาก ๆ ก็จะพานอาเจียน อาหารที่เคยชอบ น้ำหอมที่เคยฉีดทุกวัน คงต้องเก็บเข้ากรุไปก่อน

หน้าอกบวมขึ้น

ลองสังเกตตัวเองนะคะว่าหน้าอกตัวเองบวมขึ้นหรือเปล่า เพราะว่าในช่วงไตรมาสแรก ว่าที่คุณแม่อาจมีอาการบวมและเจ็บที่หน้าอก เพราะมีเลือดไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวมากขึ้น รวมถึงจะมีความรู้สึกไวต่อการสัมผัสมากขึ้นบริเวณหน้าอกอีกด้วยค่ะ

เหนื่อยล้าได้ง่าย

ทั้งที่บางครั้งแค่นอนหรือนั่งเฉย ๆ ก็รู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกง่วงแล้ว หาวได้ทั้งวัน นี่เป็นผลมาจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ในช่วงไตรมาสแรก หากคุณแม่มีโอกาสพักผ่อนนอนหลับได้ก็จะดีนะคะ แต่พอเข้าช่วงไตรมาสที่สองอาการเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปค่ะ

เลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด

เหตุเพราะมีตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกจึงทำให้ว่าที่คุณแม่บางคนมีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิสนธิได้ 11-12 วัน แต่เลือดที่ไหลออกมาจะเป็นเลือดสีจาง ๆ สีแดง หรือไม่ก็สีชมพู จะเป็นแบบนี้อยู่ประมาณ 1-2 วัน แต่…แต่ถ้าว่าที่คุณแม่พบว่าตัวเองมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับอาการปวดท้อง ควรรีบปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะเป็นไปได้ว่าอาจท้องนอกมดลูก

ท้องป่อง

อ้าว…ก็แน่นอน มีเด็กในท้อง ท้องก็ต้องป่องสิ! ก็จริงค่ะแต่ในที่นี้หมายถึง ถ้าว่าที่คุณแม่ตั้งครรภ์จริง ๆ เวลาที่คุณแม่แขม่วท้องแล้วท้องจะไม่ยุบ (รู้สึกเหมือนเราคุมหน้าท้องเราไม่ได้ 555) ซึ่งต่างกับตอนที่คุณแม่ยังไม่มีน้องนะคะ พอเราแขม่วหน้าท้องก็จะยุบตาม

ปัสสาวะบ่อยขึ้น

เป็นเรื่องปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ เพราะร่างกายต้องทำงานหนักขึ้น ผลิตเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ มากขึ้น ไตก็ต้องขับของเสียออกมามากขึ้นเช่นกัน และยิ่งถ้าอายุครรภ์มากขึ้นอาการนี้ก็ยังอยู่นะคะ เพราะเจ้าตัวน้อยไปเบียดอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย

ท้องผูก

หากตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงเยอะเลย การบีบตัวของลำไส้ก็ลดลง มดลูกอาจไปทับลำไส้ใหญ่ ทำให้ขับถ่ายลำบาก เกิดอาการท้องผูก แต่ให้คุณแม่ดื่มน้ำเปล่าสะอาด ๆ มาก (ปัสสาวะบ่อยหน่อยก็ไม่เป็นไรนะคะ ดีกว่าท้องผูกเน้อ) และกินอาหารที่มีกากใยสูง ถ้าเป็นไปได้ออกกำลังเบา ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยแก้เรื่องท้องผูกได้ค่ะ

จากประสบการณ์ของตัวเองนะคะ ถ้าคุณแม่เป็นแบบนี้เกินครึ่งก็มั่นใจได้เลยว่า “ตั้งครรภ์” และถ้าจะให้ชัวร์แบบเห็น ๆ กันไปเลยก็ลองซื้อชุดตรวจครรภ์มาสัก 3 อัน 3 ยี่ห้อนะคะ งานนี้จะได้ดีใจกันสุดตัวไปเลย^^ อ้อ…ถ้าน้องมาแล้ว อย่าลืมไปฝากครรภ์กันด้วยนะคะ

ความเชื่อผิด ๆ ขณะ “ตั้งครรภ์” ที่ควรทิ้งไป เริ่มทำความเข้าใจในสิ่งที่ถูก

สำหรับคุณแม่ทั้งมือใหม่และมือเก่าอาจเคยได้ยินเรื่องราวความเชื่อว่าขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ห้ามทำโน่น แต่ต้องทำอย่างนี้ เพื่อที่จะบลา บลา บลา อะไรก็ว่ากันไป แต่…รู้หรือไม่คะว่าจริง ๆ แล้วความเชื่อดังที่โน้ตจะนำมาพูดถึงในวันนี้ล้วนแล้วแต่เป็นความเชื่อที่ผิดทั้งนั้น แล้วความจริงเป็นอย่างไร อย่าช้า…ไปดูกันค่ะ

ดูแลแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกอย่างไร? อะไรที่เป็นความเสี่ยงบ้าง

การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่มีเจ้าตัวเล็กในท้อง ต้องเพิ่มความใส่ใจมากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะฉะนั้นวันนี้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องดูแลเรื่องอะไรบ้าง? และอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมไปถึงอาหารที่คุณแม่ควรกินให้น้อยลง เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

การเปลี่ยนแปลงของแม่ “ตั้งครรภ์” ไตรมาสแรก

สำหรับคู่แต่งงานที่ต้องการมีลูก แต่ว่าไม่แน่ใจว่าอาการแบบไหนที่เรียกว่าแพ้ท้อง เพราะอาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดกับทุกคน ดังนั้น การตั้งครรภ์ในสัปดาห์แรกร่างกายของคุณแม่จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น จะมีอาการอย่างไร รวมไปถึงลูกน้อยด้วย วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลมาฝากค่ะ แถมด้วยอาหารที่บำรุงครรภ์ในแต่ละช่วง จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

ในสัปดาห์แรกนี้ คุณแม่ที่ไม่ได้มีการวางแผนการตั้งครรภ์มาก่อน อาจจะไม่ค่อยได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่
แต่หากจะมีการวางแผน ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อเตรียมตัว เช่น งดแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น และที่สำคัญคุณหมอจะให้คุณแม่ทานโฟลิคต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ในสัปดาห์นี้จะเริ่มกำหนดเพศจากโครโมโซม 2 แท่ง จาก 46 แท่ง โครโมโซมทั้งสองนี้มาจากไข่และอสุจิอย่างละ 1 แท่ง โดยไข่เป็นโครโมโซม X และอสุจิมีทั้งโครโมโซม X และ Y หากอสุจิโครโมโซม X ผสมกับไข่ จะได้ลูกสาว แต่ถ้าอสุจิโครโมโซม Y ผสมกับไข่จะได้ลูกชาย

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
การตกไข่โดยมากมักเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป 14 วัน ซึ่งถ้าคุณแม่มีรอบเดือนอยู่ที่ 28 วัน วันที่ 14 น่าจะเป็นวันที่ไข่ตก ซึ่งน่าจะมีโอกาสตั้งท้องได้มากที่สุด
อาหารบำรุงครรภ์
ควรเน้นทานอาหาร 5 เป็นหลักเลยค่ะ แล้วเสริมด้วย Folic Acid วันละ 1 เม็ด (ไม่ควรเกินจากนี้)

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
หลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้วจะเกิดการตั้งครรภ์ และเซลล์จะเพิ่มเป็นทวีคูณในอัตราที่รวดเร็วภายใน 7 วัน ตัวอ่อนลูกน้อย เริ่มมีการฝังตัวที่เยื่อบุมดลูก เริ่มมีการแลกเปลี่ยนสารอาหารได้แล้ว

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
คุณแม่บางท่านอาจเริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ลูกเริ่มเป็นบลาสโทซิสต์ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์หลายร้อยเซลล์เดินทางมาถึงรก เริ่มเกาะติดกับผนังมดลูก กระบวนการการฝังตัวจะใช้เวลาประมาณ 13 วันบลาสโทซิสต์ฝังตัวได้แล้วจะเริ่มมีการแบ่งเป็นชั้นๆ ชั้นบนเป็นเอมบริโอและโพรงน้ำคร่ำ ส่วนชั้นล่างเป็นถุงไข่แดง

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
หากคุณแม่ที่ไม่ได้มีการวางแผนการตั้งครรภ์กับคุณหมอมาก่อน ในสัปดาห์นี้หากเริ่มรู้สึกว่าร่างกายตัวเองมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ แนะนำว่าควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการ “ตรวจเลือด” เพราะเวลานี้รกได้หลั่งฮอร์โมน HCG เข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ทำให้ว่าที่คุณแม่บางรายเริ่มมีอาการพะอืดพะอม

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ในสัปดาห์นี้ลูกเริ่มมีรูปร่างเกือบเหมือนท่อนเหล็กยกน้ำหนัก มีร่องตามหลังซึ่งจะปิดสนิทและกลายเป็นท่อของระบบประสาท เกิดเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “ปล้อง” ขึ้นทั้ง 2 ด้านของท่อนี้ ซึ่งภายหลังจะเติบโตเป็นกล้ามเนื้อและโครงสร้างอื่นๆ อีกทั้งจะเริ่มเกิดรอยโป่งขึ้น เพื่อเป็นที่อยู่ของหัวใจและหลอดเลือดขั้นต้น ในขั้นนี้ถุงไข่แดงจะทำหน้าที่ให้อาหาร ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ และเลือด

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงนี้หากประจำเดือนขาด คาดว่าตั้งครรภ์แล้วใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์หากผลเป็นลบ ค่อยเว้นระยะห่างซัก 2-3 วันแล้วค่อยทดสอบใหม่ หากเป็นบวกก็เป็นไปได้มากว่าตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ต้องคอยระวังเรื่องอาการแทรกซ้อนที่อาจขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้แท้ง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและสบายใจ ให้คุณแม่ไปพบหมอเพื่อตรวจอีกครั้งแล้วฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ คุณหมอก็จะดูแลในทุกเรื่องรวมไปถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยาวของลูกอยู่ที่ 2-4 มม. และถุงน้ำคร่ำมีปริมาตรประมาณ 2.5 มล. หัวใจของลูกยังมีลักษณะยาวเป็นท่อ แต่ก็เริ่มเต้นแล้ว เริ่มพัฒนาการของไขสันหลัง สมองเติบโตอยู่ภายในศีรษะ แขนและขาเริ่มเป็นปุ่มให้เห็น ลำตัวจะโค้งงอ ตับ ตับอ่อน ต่อมไทรอยด์ ปอด คอ และขากรรไกรเริ่มพัฒนา

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
หากคุณหมอยืนยันว่าตั้งครรภ์ คุณแม่จะพบความเปลี่ยนแปลงคือ หัวนมและเต้านมอาจดูเต่งขึ้น ผิวรอบหัวนมเริ่มมีสีเข้มขึ้น

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ลูกจะเริ่มยางขึ้นอยู่ที่ 4-5 มม. เริ่มมีลักษณะของใบหน้าให้เห็น ตาเริ่มเป็นแผ่น รูจมูกเริ่มเปิดเล็กน้อย ปากเป็นรอยเว้า ปุ่มแขนและขาเริ่มยาวออกมามากขึ้น เห็นข้อศอก ไหล่ เท้า และมือ สมองแบ่งออกเป็นส่วน อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 150 ครั้งต่อนาที

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มหงุดหงิดขึ้น เพราะไม่สบายเต้านม อาจรู้สึกชาในบางครั้ง อาจเหนื่อยง่ายขึ้นทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายอะไรมาก ทั้งนี้เป็นเพราะฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนสูงขึ้นนั่นเอง เริ่มปัสสาวะบ่อยขึ้น มีน้ำลายมากขึ้น และมีเมือกออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความสูงของลูกจะอยู่ที่ 1.6 ซ.ม. อวัยวะทุกส่วนเริ่มเห็นชัดมากขึ้น โดยเฉพาะนิ้วมือ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
บางรายยังคงมีอาการแพ้ท้องหนักอยู่โดยเฉพาะในช่วงเช้า แต่พอเข้าสัปดาห์ที่ 14 คุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการดีขึ้น แต่ก็ยังเป็นๆ หายๆ อยู่ หากยังมีอาการแพ้อยู่ให้ลองทานแครกเกอร์ธัญพืช ทานมื้อละน้อยๆ แต่แบ่งเป็นหลายมือแทน และลองดื่มน้ำขิงร้อนๆ ดูค่ะ จะพอบรรเทาอาการลงได้

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 22-30 มม. และหนักประมาณ 4 กรัม ศีรษะใหญ่ขึ้น หลังตรง เห็นคอได้ชัดขึ้น ผิวหนังหนาขึ้น แขนและขากำลังยืดยาวเจริญเติบโต ลำไส้เริ่มย้ายกลับเข้าไปในช่องท้อง ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่พอให้ลำไส้ได้เข้าไปอยู่

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ท้องของคุณแม่ยังไม่ค่อยใหญ่ถึงขนาดว่าเห็นได้เด่นชัด แต่ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ยังอยู่ในระดับสูงอยู่ จึงทำให้คุณแม่ดูสวยเปล่งปลั่ง ผิวหน้าเรียบเนียน ดูมีน้ำมีนวล เต้านมจะขยายมากขึ้น ในบางวันคุณแม่อาจพบว่ามีเมือกออกมาจากช่องคลอดมากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากันในแต่ละวัน แต่หากเมือกนั้นมีมากขึ้น และมีกลิ่นแรง กรณีนี้คุณแม่ควรไปพบคุณหมอค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ 37-42 มม. หนักประมาณ 5 กรัม ช่วงนี้เรียกได้ว่าทารกเริ่มพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ หน้าตาเริ่มชัดเจน เปลือกตาสามารถปิดได้สนิท และจะไม่ลืมตาจนกว่าอายุครรภ์ได้ 27 สัปดาห์ ระบบประสาทเริ่มมีการตอบสนอง อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 140 ครั้งต่อนาที

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ระดับฮอร์โมนจะสูงขึ้นจนมีผลกระทบกับร่างกายและอารมณ์ เป็นเรื่องปกติมากที่คุณจะตกใจง่าย รู้สึกร่าเริงง่ายไปจนถึงร้องไห้ง่ายเช่นกัน ต่อมไทรอยด์จะบวมเล็กน้อย ซึ่งอีก 2 สัปดาห์โดยประมาณจะครบไตรมาสที่ 1 อาการแพ้ท้องจะค่อยๆ ลดลง

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวของลูกจะอยู่ที่ประมาณ 44-60 มม. หนักประมาณ 8 กรัม มีอวัยวะสำคัญต่างๆ ครบหมดแล้ว อาทิ สมอง ปอด ตับ ไต และลำไส้ ส่วนผมและเล็บกำลังขึ้น ม่านตากำลังพัฒนา

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงนี้อาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปจะเผาผลาญเร็วกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดที่สูบฉีดเข้าร่างกายมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกว่าร่างกายและมืออุ่นขึ้น บางรายอาจมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ที่สำคัญ คุณหมอเริ่มจะคำนวณวันคลอดได้คร่าวๆ แล้วค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกตอนนี้จะอยู่ที่ประมาณ61 มม. หนักประมาณ 9-13 กรัม อวัยวะต่างๆ เติบโตต่อ กระดูกเริ่มแข็งแรงขึ้น เนื่องจากการเสริมแคลเซียม ความเสี่ยงในเรื่องทารกผิดปกติเริ่มน้อยลง ต่อมใต้สมองที่ฐานสมองกำลังผลิตฮอร์โมน สร้างเส้นเสียง และระบบย่อยอาหารสามารถบีบตัวไล่อาหารไปตามลำไส้และดูดซึมกลูโคสได้ อวัยวะเพศเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่จะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะสามารถระบุได้

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นประมาณ 10 ซม. เริ่มเลื่อนจากอุ้งเชิงกรานไปยังช่องท้อง และเริ่มไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่เริ่มปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณหมอเริ่มคำนวณวันคลอดได้แม่นยำขึ้นโดยดูจากความยาวของศีรษะมาจนถึงก้นลูก หัวใจของคุณแม่จะเริ่มเต้นเร็วขึ้นประมาณ 2-3 ครั้งต่อนาที เพื่อรับกับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของเลือดซึ่งไหลเวียนในร่างกาย อาการแพ้ท้องจะหายไปแล้วค่ะตั้งแต่ช่วงนี้

การเปลี่ยนแปลงของแม่ “ตั้งครรภ์” ไตรมาสที่ 2

เข้าสัปดาห์ที่ 13 แล้ว คุณแม่และลูกจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อย่าช้า ไปดูกันเลยค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 13 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกจะอยู่ที่ 75 ซม. หนักประมาณ 20 กรัม เริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่าสม่ำเสมอจนคุณแม่รู้สึกได้ ตับอ่อนเริ่มผลิตอินซูลิน พัฒนาการทางระบบประสาทก็พัฒนาไปได้เรื่อยๆ หากนิ้วมือของทารกบังเอิญไปสัมผัสกับรก เค้าจะสามารถจับรกได้

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
หลังจากที่แพ้ท้องมานาน ช่วงนี้คุณแม่จะพบว่าตัวเองหิวบ่อย และทานเก่งมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 80-93 มม. หนักประมาณ 25 กรัม สามารถแสดงอาการเหล่ตา เคลื่อนไหวนิ้วมือได้ซับซ้อนมากขึ้น และดูดนิ้วหัวแม่มือได้อีกด้วย ในขณะที่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกายเติบโตไปได้เรื่อยๆ เริ่มมีการฝึกการหายใจให้เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
มดลูกจะบวมมากขึ้น คุณหมอจะมีการนัดอัลตร้าซาวน์ ตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวดาวน์ซินโดรม

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 9.3-10.3 ซม. หนักประมาณ 50 กรัม ขนอ่อนเริ่มขึ้นตามร่างกาย ขนอ่อนนี้จะร่วงก่อนเกิดและมีขนที่หนาและหยาบมากกว่าขึ้นมาแทน แต่ขนคิ้วและผมยังคงขึ้นต่อไป

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
คุณแม่จะเริ่มคับบริเวณเอว เริ่มมีอาการท้องผูก เพราะฮอร์โมรโปรเจสเตอโรนกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานช้าลง ดังนั้น ผักและผลไม้เป็นอาหารที่คุณแม่ต้องทานได้ให้ในปริมาณมากๆ เลยค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมทานแคลเซียมไว้นะคะ เพราะลูกกำลังเติบโตได้ดีเชียวค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ลูกจะมีความยาวประมาณ 10.8-11.6 ซม. หนักประมาณ 80 กรัม อวัยวะต่างๆ เติบโตอย่างเต็มที่ และเคลื่นไหวทุกส่วนได้ ศีรษะตั้งตรงมากขึ้น สมองควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มผลิตแอนตี้บอดี้ป้องกันตนเองได้ดีขึ้น

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณน้ำคร่ำก็เพิ่มมากขึ้น ต่อมน้ำนมของคุณแม่ก็เริ่มมีการผลิตน้ำนมและอาจส่งผลให้เต้านมบวมได้ กดแล้วเจ็บ เลือดจะไหลเวียนมายังเต้านมมากขึ้น ทำให้มองเห็นหลอดเลือดดำได้ชัดเจนขึ้น

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ตอนนี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 11-12 ซม. หนักประมาณ 100 กรัม ขั้นตอนนับเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ เพราะลูกจะเริ่มมีการสะสมไขมันสีน้ำตาลซึ่งเป็นไขมันชนิดพิเศษ โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร้อนหลังเกิด หัวใจสูบฉีดเลือดสูงสุดวันละ 24 ลิตร รกจะมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้หัวใจของคุณแม่ได้เพิ่มปริมาณการสูบฉีดเลือดส่งออกจากหัวใจมากขึ้นเป็นร้อยละ 40 ต่อนาที เพิ่มความดันให้กับหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดฝอยในจมูกและเหงือก อาจมีเลือดกำเดาออกเล็กน้อย ในบางรายอาจมีอาการบวมน้ำที่มือและเท้าเล็กน้อย

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ลูกจะมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 12.5-14 ซม. โดยประมาณ หนักประมาณ 150 กรัม ลูกจะไวต่อเสียงหรือการสัมผัสจากโลกภายนอกมากขึ้น ประสาทหูกำลังพัฒนาได้ดี แต่จะตกใจเมื่อได้ยินเสียงรบกวนที่ดัง ลำไส้ส่วนล่างกำลังเก็บสะสมเศษที่ย่อยไม่ได้ เรียกว่า “ขี้เทา

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก อาจจะตื่นเต้นกับการเคลื่อนไหวของลูกในท้องเป็นครั้งแรก แต่ในบางรายอาจยังไม่ค่อยรู้สึกจนกว่าจะอีก 2-3 สัปดาห์ถัดไป อาจเริ่มชัดเจนขึ้น

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ 13-15 ซม. หนักประมาณ 200 กรัม เส้นประสามทที่เชื่อมต่กกับกล้ามเนื้อต่างๆ กำลังเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ แต่สมองส่วนหน้ายังเติบโตไม่เต็มที่ ผิวหนังของลูกเริ่มหนาขึ้นเป็น 4 ชั้น ต่อมไขมันพิเศษเริ่มมีการหลั่งไขมันออกมาเป็นลักษัณะขี้ผึ้ง เรียกว่า ไขมันเคลือบผิว เป็นชั้นป้องกันน้ำสำหรับทารกที่ต้องอยู่ในน้ำคร่ำเป็นเวลานาน แขนขาได้สัดส่วน เริ่มเห็นอวัยวะเพศได้ชัดเจนขึ้น

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึง “อาการลูกเริ่มดิ้น” และน้ำหนักคุณแม่เริ่มมากขึ้นในบางส่วนของร่างกาย เช่น สะโพก ซึ่งมดลูกก็จะเริ่มขยายมากขึ้น อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหว การเดิน การนอนหลับ คุณแม่ลองหาหมอนหนุนหลัง หรือท้องดูนะคะ จะได้นอนได้สบายมากขึ้นค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวของลูกจะเพิ่มขึ้นเป็น 14-16 ซม. หนักประมาณ 260 กรัม นับว่ามาได้ครึ่งแล้วค่ะ ช่วงนี้จะเป็นการพัฒนาในเรื่องของระบบประสาทการรับรู้ ในขณะที่ไขหุ้มทารกกำลังผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนเล็บมือ เล็บเท้า และผมยังคงงอกต่อไป

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงนี้จะเริ่มดูออกมากขึ้นแล้วค่ะว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ เอวคุณแม่จะดูหนาขึ้น หน้าท้องเริ่มตึง มดลูกกำลังดันหน้าท้องออกมา คุณที่ชอบใส่ส้นสูง ถึงเวลาพักชั่วคราวก่อนนะคะ และหาเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายไม่รัดจนเกินไปมาใส่แทนค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกในสัปดาห์นี้เพิ่มเป็น 18 ซม. หนักประมาณ 300 กรัม ช่วงนี้ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงานมากขึ้น และพัฒนามากพอที่จะดูดซึมน้ำและน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไป กรองบางส่วนผ่านไตและไล่ของแข็งปริมาณเล็กน้อยออกมา ลูกเริ่มมีการสร้างปุ่มรับรสที่ลิ้น ความรู้สึกในการรับรสดีขึ้น ซึ่งมาจากพัฒนาการทางสมองและปลายประสาทนั่นเอง อ้อ…ช่วงนี้หากจังหวะดีๆ ถ้าคุณแม่ไปอัลตร้าซาวน์อาจเห็นลูกกำลังดูดนิ้วมือของตัวเองอยู่ก็เป็นได้นะคะ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ในอีก 10 สัปดาห์หลังจากนี้ น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะลูกจะมีการสะสมไขมันมากขึ้น และอาจส่งผลให้คุณแม่อยากทานโน่น อยากทานนี่ หรือหิวบ่อยขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเมตาบอลิซึมขั้นพื้นฐานค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ลูกจะเริ่มยาวขึ้นเป็น 19 ซม. หนักประมาณ 350 กรัม สมองยังคงพัฒนาเติบโตไปอย่างรวดเร็ว อวัยวะภายในเริ่มเคลื่อนไหวนิ่มนวลมากขึ้น แม้ว่าผิวยังคงมีสีแดงอยู่ มีรอยย่นและขนอ่อนปกคลุม
ช่วงนี้คุณแม่สามารถเริ่มทำบันทึกการตื่นและการนอนของลูกได้แล้วล่ะค่ะ สามารถปลุกเค้าให้ตื่นได้ด้วยการเคาะท้องหรือเรียกเค้า นอกจากนี้ลูกยังสามารถก้มหน้ามาดูดนิ้วได้อีกด้วยค่ะ ซึ่งกระบวนการนี้ลูกจะเรียนรู้และพัฒนาอีกครั้งหลังเกิด เช่น การนำสิ่งของเข้าปาก เป็นต้น

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงนี้คุณแม่จะมีปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิด “ภาวะเลือดจางทางสรีรวิทยาแห่งการตั้งครรภ์” ภาวะนี้จะพบค่อนข้างบ่อย ซึ่งคุณหมอจะดูว่าคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกสัปดาห์นี้จะอยู่ที่ 20 ซม. หนักประมาณ 455 กรัม ใบหน้าและลำตัวดูเหมือนทารกที่ครบกำหนดคลอดมากขึ้น แต่ผิวหนังยังแดงและบาง สามารถมองเห็นกระดูกและอวัยวะภายในบางอย่างได้
ตับอ่อนยังคงพัฒนาต่อไป ต่อมาจะมีการผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการคงไขมันในเนื้อเยื่อ การได้ยินจะไวขึ้น เนื่องจากกระดูกหูขึ้นแล้ว ได้ยินเสียงต่ำของผู้ชายได้ง่ายกว่าเสียงสูงของผู้หญิง

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
เนื่องจากท้องที่เริ่มขยายใหญ่มากขึ้น อาจมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร อาจมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก อาหารย่อยไม่ค่อยดี ดังนั้น คุณแม่ควรทานในปริมาณน้อยในแต่ละมื้อ แต่ทานให้บ่อยขึ้น แต่ยังคงเน้นเป็นธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นจากปกติเล็กน้อยนะคะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยาวลูกจะอยู่ที่ 21 ซม. หนักประมาณ 540 กรัม ศีรษะของลูกน้อยยังคงมีลักษณะที่โตกว่าร่างกาย แต่ร่างกายยังมีการเติบโตต่อจนเต็มมดลูก ลูกสามารถได้ยินเสียงดนตรี เสียงหัวใจ เสียงพูด ของคุณแม่แล้วค่ะ รวมถึงเสียงท้องร้อง ดังนั้น คุณแม่สามารถเปิดเพลงที่ฟังสบายๆ ให้ลูกฟังได้นะคะ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย เจ็บเท้า และร่างกายจะเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้น คุณแม่ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย หากอยู่บ้านให้คุณแม่ลองหาน้ำอุ่นมาแช่เท้าประมาณซัก 30 นาที อาการจะดีขึ้นค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกจะเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ 22 ซม. หนักประมาณ 700 กรัม ร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนมากขึ้นแต่ผิวหนังยังคงบางอยู่ ฟันแท้กำลังพัฒนาอยู่ภายในเหงือก รูจมูกเริ่มเปิด เส้นประสาทรอบปากและริมฝีปากจะรับสัมผัสไวขึ้น ร่างกายจะจำแนกเพศได้ค่อนข้างสมบูรณ์
คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดเท่ากับลูกฟุตบอลซึ่งจะทำให้ดันกะบังลมและซี่โครงซี่ล่างขึ้นไปแทนที่กระเพาะอาหาร ความดันในท้องอาจทำให้สะดือยื่นออกมา และเพราะความดันในท้องที่ดันกระเพาะ ทำให้อาหารไหลลงช้าอาจทำให้คุณแม่เป็นกรดไหลย้อนได้

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวของลูกเริ่มยาวขึ้นเรื่อยๆ โดยจะอยู่ที่ 23 ซม. หนัก 850 กรัม ลูกยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กระดูกสันหลังเริ่มพัฒนา เริ่มแข็งแรงขึ้นพอที่จะพยุงร่างกายได้แล้ว แต่เค้ายังคงฝึกเรื่องการหายใจอยู่ ในขณะที่ปอดเจริญเติบโตเกือบเต็มที่แล้ว

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ใกล้สิ้นสุดไตรมาส 2 คุณแม่เริ่มมีอาการไม่สบายตัวอื่นๆ ตามมา ซึ่งนอกจากอาการปวดหลัง ยังมีอาการตะคริวที่ขา ปวดศีรษะ และการเคลื่อนไหวของลูกอาจทำให้แม่เจ็บที่ซี่โครงล่างได้เป็นครั้งคราว ช่วงนี้หากคุณพ่อพูดคุยกับลูก ลูกก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง และหากมีการอัลตร้าซาวน์คุณพ่อคุณแม่ก็จะเริ่มตื่นเต้นมากขึ้น เพราะเราจะได้เห็นลักษณะทางกายวิภาคที่สมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยาวลูกจะอยู่ที่ 24 ซม. หนัก 1 กก. ดวงตาและขนตาสมบูรณ์ ระยะนี้ลูกจะชอบดูดอะไรก็ตามที่เข้าใกล้ปาก ปุ่มรับรสบนลิ้นทำงานได้เต็มที่ ปอดยังคงเติบโตต่อ หากลูกคลอดในระยะนี้เรียกได้ว่ามีโอกาสรอด 90% แต่ต้องเข้าตู้อบและใส่เครื่องช่วยหายใจระยะหนึ่ง รอจนกว่าร่างกายแข็งแรงมากขึ้น สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ไวต่อการติดเชื้อ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณแม่จะสูงขึ้น แต่ไม่น่าเป็นห่วง เพราะคอเลสเตอรอลเป็นสารอาหารหน่วยย่อยที่รกจะใช้ในการผลิตฮอร์โมนในการตั้งครรภ์หลายตัว ช่วงนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกพูดคุย หรือฟังเพลงบ่อยๆ หรือจะใช้ไฟฉายส่องที่ท้องเปิด-ปิดไฟ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกได้นะคะ

การเปลี่ยนแปลงของแม่ “ตั้งครรภ์” ไตรมาสที่ 3

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าไตรมาสสุดท้าย ท้องก็ยังคงใหญ่ขึ้น ทำให้ร่างกายของคุณแม่เคลื่อนไหวลำบาก อาจจะมีการเจ็บกระบังลมบ้างในบางจังหวะ คุณแม่ควรทำอย่างไร หรือจะเตรียมข้างของเพื่อไปคลอดตอนไหนดี ไปดูกันเลยค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกจะเพิ่มเป็น 25 ซม. หนักประมาณ 1.1 กก. ช่วงนี้เริ่มเข้าไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ลูกยังคงฝึกหายใจอย่างต่อเนื่องโดยมีสารน้ำเข้าไปในทางเดินอากาศหายใจไม่ใช่ปอด ผิวหนังยังคงเป็นสีแดง มีไขมันหุ้มอยู่ทั้งตัว โดยพอจะมองออกแล้วว่าจะเป็นศีรษะหรือก้นที่ออกมาก่อน การได้ยินของลูกจะดีมากขึ้น หากเป็นเพศชายอัณฑะได้เคลื่อนลงมาในถุงอัณฑะเกือบหมดแล้ว ถ้าเป็นเพศหญิง แคมยังเล็กและยังปิดปุ่มกระสัน (คลิทอริส) ไม่มิด

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
คุณแม่อยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการทดสอบการเคลื่อนไหวของลูกในช่วงเช้าและเย็นประมาณ 1 ชั่วโมง (หรือทดสอบการดิ้นนั่นเองค่ะ) คุณแม่ควรนับดูว่าการดิ้นของลูกนั้นครบ 10 ครั้งต่อรอบมั้ย ถ้าไม่ถึงควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อความสบายใจนะคะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวลูกเพิ่มขึ้นเป็น 26 ซม. หนักประมาณ 1.25 กรัม พื้นที่ในมดลูกเริ่มแคบลง แต่ลูกยังคงยืดแขน ขาได้ บางครั้งอาจมีเตะ สมองและเนื้อเยื่อในสมองพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเริ่มควบคุมการทำงานของร่างกายได้ดีมากขึ้น อาทิ อุณหภูมิในร่างกาย การควบคุมการหายใจ ประสาทสัมผัสต่างๆ ตอบสนองไวมากขึ้น เช่น ตาที่มีความไวต่อแสงมากขึ้น มีความสามารถในการได้ยินและตอบสนองได้ดี รับรส รับกลิ่นได้มากขึ้น

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
คุณแม่อาจพบว่ามีน้ำนมเหลือง มีลักษณะเหนียวไหลออกมาจากหัวนม น้ำนมนี้จะเป็นอาหารให้แก่ลูกของคุณแม่ค่ะ ปกติแล้วน้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนมนี้จะไหลออกมาหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้ว 1-2 วัน ช่วงนี้คุณแม่อาจปัสสาวะบ่อยขึ้น และท้องผูก เพราะเกิดจากการที่มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและไปกดทับกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้นั่นเองค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวจากศีรษะถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 27 ซม. หนักประมาณ 1.36 กก. มีรอยเหี่ยวย่นน้อยลง มีเส้นผมทีหนาขึ้น เล็บมือ เล็บเท้ายังคงงอกอย่างรวดเร็ว กระดูกในส่วนต่างๆ แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกได้ถึงอาการที่ลูกสะอึกจากการกลืนน้ำคร่ำ ลูกเคลื่อนไหวได้ยากมากขึ้นเพราะเนื้อที่ในมดลูกเริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆ มีการหลับตาและลืมได้บ่อยขึ้น

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่เริ่มเดินอุ้ยอ้าย เดินช้า เคลื่อนไหวได้ช้าลง ช่วงนี้หากคุณแม่จะลูกจากเตียง แนะนำว่าค่อยๆ นอนตะแคงก่อนแล้วค่อยๆ ลูกขึ้นนะคะ เพราะแขนจะมีแรงพอที่จะส่งตัวคุณแม่ให้ลูกไหว กลางดึก…คุณแม่อาจตื่นบ่อยเพราะปวดปัสสาวะบ่อย ทำให้นอนไม่พอ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยางที่วัดจากศีรษะจนถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 28 ซม. หนักประมาณ 1.4 กก. หากมีการคลอดก่อนกำหนดในช่วงนี้ ลูกจะมีโอกาสรอดได้มากขึ้น เนื่องจากปอดสามารถทำงานได้ดีขึ้น มีการพองตัวอย่างเหมาะสมเป็นจังหวะ แต่ก็ยังนับว่าเติบโตไม่เต็มที่ ตามีสารสีแต่อาจจะยังไม่ทราบสีสุดท้ายจนกว่าลูกจะมีอายุ 6-9 เดือน

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
อาการปวดหลังยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเอ็นและกล้ามเนื้อที่ต้องรับน้ำหนักและพยุงหลังไว้ อาจทำให้คุณแม่เสียสมดุลในร่างกาย เวลาเคลื่อนไหวควรเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ หากขึ้นบันไดควรจับราวบันไดไว้ให้มั่น หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นที่มีน้ำเปียกชื้น ป้องกันการลื่นนะคะ
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ ณ เวลานี้จะอยู่ที่ 8.6 กก. โดยประมาณ ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำคร่ำ รก เต้านม มดลูกที่ใหญ่ขึ้นปริมาณเลือดและไขมันสะสมเพิ่มขึ้น โปรตีน และน้ำ 

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยางที่วัดจากศีรษะจนถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 29 ซม. หนักประมาณ 1.8 กก. ประสาทสัมผัสทั้งหมดสมบูรณ์และทำงานได้ดี ขนาดของศีรษะและร่างกายได้สัดส่วนกัน ลูกฝึกหายใจเองทำให้ปอดแข็งแรงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ลูกมีการถ่ายปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ศีรษะลูกเริ่มกลับมาด้านล่างมดลูก โดยการกดเชิงกรานของคุณแม่เพื่อเตรียมคลอดค่ะ
ทั้งนี้ 90-95% ของวัน ลูกจะใช้ไปกับการหลับ ซึ่งอาจมีการฝันอีกด้วย ทำให้ลูกตาของลูกภายใต้เปลือกตาที่ปิด

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
เพราะลูกเริ่มกลับศีรษะลงแล้ว ทำให้บางครั้งอาจมีการถีบหรือเตะซี่โครงของคุณแม่ทำให้เจ็บได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่ต้องเจ็บแบบนี้บ่อยๆ ให้พยายามนั่งตัวให้ตรงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ค่ะ หรือไม่ก็นั่งเอนเบาะไปด้านหลังเล็กน้อย ก็จะช่วยได้ค่ะ
บางรายอาจมีอาการเส้นเลือดขอดอย่างเห็นได้ชัด ข้อเท้าและนิ้วเท้าบวม อาหารที่ควรทานยังคงเน้นเป็นอาหารหลัก 5 หมู่ เพียงแต่เพิ่มในส่วนของวิตามินและแร่ธาตุอีกนิดนึงค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้ความยางที่วัดจากศีรษะจนถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 30 ซม. หนักประมาณ 2 กก. ลูกยังใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหลับและเกิดการฝันมากมายหลายสิ่ง ช่วงนี้การเคลื่อนไหวของลูกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเตะและชกที่ผนังมดลูก
กระดูกพัฒนาเต็มที่ ต่อมไฮโปทาลามัสในสมองเริ่มทำงาน แต่หากต้องคลอดก่อนกำหนดในระยะนี้ ลูกยังต้องอยู่ในตู้อบอีกซักระยะ เพราะปอดยังเติบโตไม่เต็มที่ ยังหายใจได้เองลำบาก

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ปริมาณของมดลุกเพิ่มขึ้นเป็น 500 เท่าจากการตั้งครรภ์และน้ำคร่ำอยู่ในระดับสูงสุด ภาวะเลือดจางทางสรีรวิทยาเริ่มลดน้อยลง ส่วนอาการที่ว่าอาหารไม่ค่อยย่อยจะเริ่มดีขึ้น เพราะลุกกลับหัวลงแล้วค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้มดลูกของคุณแม่เริ่มลอยมากขึ้นจนเหนือสะดือ จนบางรายสะดือจะจุ่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด แต่ท้องจะยังคงขยายมากขึ้นจนถึงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
สัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 45 ซม. หนักประมาณ 2,146 กรัม ปอดและสมองพัฒนาได้เกือบสมบูรณ์ มีไขปกคลุมผิวหนังทารกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่น
หากจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด โอกาสรอดชีวิตสูง แต่สารเคลือบปอดยังสร้างได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนยังทำได้ไม่ดีนัก ยังต้องใช้กระบวนการออกซิเจนบำบัดอยู่

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงสัปดาห์ที่ 34-36 จะเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากที่สุด ทารกก็ยังเติบโตต่อไปทำให้ท้องของคุณแม่โตมาก เริ่มมีการเจ็บเตือนเป็นระยะ คุณแม่ควรแยกให้ออกระหว่างเจ็บเตือนและเจ็บจริง ดังนี้ค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้หรือในช่วง 35 สัปดาห์ขึ้นไป คุณหมอจะมีการนัดถี่ขึ้น เพราะคุณแม่มีโอกาสคลอดได้ทุกเมื่อ โดยความยาวของทารกจะอยู่ที่ 46.2 ซม. หนักประมาณ 2,383 กรัม อวัยวะต่างๆ พัฒนาจนเกือบสมบูรณ์มากขึ้น ตับก็พัฒนาได้เต็มที่เช่นกัน ร่างกายทารกเริ่มขับของเสียออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 35 คุณแม่อาจพบว่าลูกดิ้นน้อยลง ซึ่ง “การดิ้น” ของลูกเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้แม่รู้ว่าลูกยังมีชีวิตอยู่
การนับลูกดิ้น คุณแม่ต้องจับให้ได้ในทุกๆ 2 ชั่วโมง ลูกควรดิ้น 10 ครั้ง หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ให้นับต่อในชั่วโมงที่ 3 แต่หากยังดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง คุณแม่ควรไปปรึกษาคุณหมอทันทีนะคะ เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจวินิจฉัยว่าลูกยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
อาหารที่คุณแม่ควรทานในช่วงนี้ แนะนำเป็นเมนูนึ่งต่างๆ เช่น พวกปลานึ่ง ผักต้มกับน้ำพริกเผ็ดน้อย งดอาหารที่เพิ่มแก๊สในกระเพาะ เพราะจะทำให้คุณแม่อึดอัดได้ค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
สัปดาห์นี้เป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเริ่มเตรียมข้าวของเครื่องใช้เพื่อเตรียมคลอดลูกน้อยให้พร้อมนะคะ
ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 47.4 ซม. หนักประมาณ 2,622 กรัม มีการเติบโตของอวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจน ดังนี้ค่ะ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์

  • คุณแม่อาจมีอาการแน่นหน้าอก เพราะทารกมีขนาดที่โตขึ้น ทำให้เบียดกระบังลมของคุณแม่
  • ไม่ควรเดินทางไกล หรือหากจำเป็นควรพกสมุดฝากครรภ์ไปด้วย
  • ผิวหนังแห้งตึง โดยเฉพาะผนังหน้าท้อง งดอาบน้ำอุ่น เน้นทาโลชั่นหรือน้ำมันมะพร้าวก็จะช่วยลดความแห้งตึงได้
  • พยายามพักผ่อนให้มาก ไม่ควรเครียดหรือกังวล เพราะความเครียดจะทำให้มดลูกบีบตัว อาจคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวของลูกสัปดาห์จะอยู่ที่ 35 ซม. หนักประมาณ 2,950 กรัม อวัยวะต่างๆ สมบูรณ์เต็มที่ ปอดและหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกระพริบตาได้คล่องขึ้น มีลำคอที่หนาขึ้น ผิวบางอมชมพู
ถึงแม้ว่าอวัยวะสำคัญต่างๆ ส่วนใหญ่เติบโตเต็มที่ แต่สมองยังคงเติบโตและพัฒนาต่อไปเป็นเวลา 1,000 วัน ดังนั้น คุณแม่ควรเน้นทานโอเมก้า3 พบมากในนม ไข่ เนื้อปลา และถั่วต่างๆ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
สำหรับสัปดาห์นี้ในทางการแพทย์นับเป็นสัปดาห์แรกของการที่มีอายุครรภ์ครบกำหนด (อายุครรภครบกำหนดในทางการแพทย์คือ 37-42 สัปดาห์) คือ ถ้าหากจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด ส่วนมากในสัปดาห์นี้ทารกจะปลอดภัย เพราะอวัยวะต่างๆ พัฒนาเต็มที่แล้ว
แต่…ในขณะที่ช่วงนี้คุณแม่จะอุ้ยอ้ายมาก เคลื่อนไหวลำบาก เพราะลูกอาจมีการกดทับเส้นประสาทางส่วน หรือเส้นเลือดบางจุด ทำให้การไหลเวียนสารน้ำในร่างกายไม่คล่องตัว สังเกตได้จากการนั่งท่าเดียว หรือถ้ายืนนานๆ อาจทำให้ขาบวม เท้าบวม หรือลูกอาจไปดันกระเพาะอาหารทำให้คุณแม่มีอาการกรดไหลย้อนได้ง่าย หรือท้องอืด ดังนั้น คุณแม่ควรทานอาหารในปริมาณที่น้อยในแต่ละมื้อ แต่บ่อยแทน เน้นอาหารย่อยง่ายจำพวกปลาหรือผัดต้มนะคะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวของทารกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 37-38 ซม. หนักประมาณ 3,100 กรัม สัปดาห์นี้รกเริ่มแก่ทำให้ประสิทธิภาพในการส่งต่ออาหารน้อยลง ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง เตรียมพร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอก การเคลื่อนไหวจะน้อยลง เพราะทารกกลับหัวแล้วทำให้พื้นที่มีอย่างจำกัด ช่วงนี้คุณแม่ต้องคอยนับหรือสังเกตการดิ้นของลูกด้วยนะคะ หากไม่ดิ้นเป็นเวลานานควรปรึกษาคุณหมอทันที

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
เพราะร่างกายของคุณแม่แบกรับน้ำหนักมานานทำให้ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมาในสัปดาห์นี้คุณจะมีอาการเจ็บเพิ่มมากขึ้นในบริเวณหัวหน่าวยังปัสสาวะบ่อยอยู่ ความสูงของยอดมดลูกต่ำลง หรือทั่วไปเรียกว่า “ท้องลด” การดื่มน้ำก่อนนอนตอนกลางคืนทำให้คุณแม่ลุกปัสสาวะบ่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณแม่หน้ามืด เป็นลมได้ ดังนั้น ควรเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ก่อนนอนและการลุก หรือการนั่ง การเดินควรทำอย่างช้าๆ นะคะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
ความยาวของทารกโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 37-38 ซม. หนักประมาณ 3,250 กรัม อวัยวะทุกส่วนเติบโตเต็มที่ พร้อมจะออกมาสู่โลกภายนอก ทารกเริ่มกลับหัว แต่หากไม่กลับหัว อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
ช่วงนี้คุณแม่อาจมีความกังวลมาก คิดไปหลายเรื่องทั้งเรื่องความสมบูรณ์ของลูก เรื่องการคลอด เรื่องการเจ็บท้อง ฯลฯ ทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งจะส่งผลให้แรงเบ่งไม่พอหากต้องมีการคลอด คุณแม่ควรเน้นทานวิตามินบี 1 เสริมซักนิด เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายนะคะ วิตามินบี 1 พบมากใน ไข่แดง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย มันฝรั่ง ตับโยเกิร์ตนม และถั่วต่างๆ ค่ะ

การเปลี่ยนแปลง อายุตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์

ทารกในครรภ์
หากคุณแม่ท่านไหนที่คลอดภายในสัปดาห์ที่ 37-42 ไม่ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดนะคะ เพราะทางการแพทย์จะกำหนดคลอด นั่นคือ การคาดคะเนวันคลอดคร่าวๆ เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัวค่ะ
สำหรับสัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 48 ซม. หนักประมาณ 3,250 กรัม ทารกส่วนใหญ่จะกลับหัว และเริ่มเคลื่อนตัวสู่ช่องคลอดหรือช่องเชิงกราน ทารกอาจดิ้นน้อยลง แต่ยังคงดิ้นนะคะ อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
การรอคอยของคุณแม่ยังมีอยู่ในทุกวันพร้อมกับความเจ็บปวดทางร่างกายที่ยังมีอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ปวดอวัยวะเพศ ปวดขา ปวดเอว ปวดหลัง (เรียกว่าส่วนไหนที่ปวดได้ ก็ปวดเกือบหมดเลยค่ะ) แต่..จะมีอาการดังต่อไปนี้ ที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณแม่ควรไปโรงพยาบาลโดยด่วน

  1. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
  2. น้ำเดิน นั่นหมายถึงถุงน้ำคร่ำแตก จะมีลักษณะน้ำใสๆ เหมือนปัสสาวะ แต่ไหลออกมาทางช่องคลอด
  3. เจ็บท้อง หากมีอาการเจ็บที่สม่ำเสมอทุก 5 นาที ไม่ต้องรอน้ำเดิน หรือรอมีมูกเลือด ให้ไปที่โรงพยาบาลทันทีค่ะ
    กลับกัน หากเข้าสัปดาห์ที่ 40 แล้ว คุณแม่ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลอด ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ สามารถรอให้ถึงสัปดาห์ที่ 42 ได้ค่ะ แต่โดยทั่วไปเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 41 คุณหมอจะนัดตรวจและให้ยากระตุ้นการคลอด แต่หากให้ยากระตุ้นแล้วยังไม่มีผลใดๆ คุณหมอจะพิจารณาเรื่องการผ่าคลอดต่อไปค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  3. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  4. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP